Custom Search
##=================================================================## ##=================================================================##

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การถ่ายภาพ โบเก้ (Bokeh)


.................. โบเก้ (Bokeh) คืออะไร? หลายคนคงอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นกับคำนี้
โบเก้ (Bokeh)ในความหมายของการถ่ายภาพจะหมายถึง
การปรากฏของพื้นที่ในภาพถ่ายที่หลุดโฟกัสซึ่งเกิดขึ้นจากเลนส์ เลนส์แต่ละตัวก็จะให้รูปแบบของ Bokeh ที่แตกต่างกันออกไป การถ่ายภาพที่มักจะเห็น Bokeh จะเป็นภาพถ่ายที่ต้องการเน้นตัวแบบหลักให้เด่นขึ้นในภาพโดยการทำให้ฉากหลังเบลอ การถ่ายภาพที่จะให้เกิด Bokeh ก็มักจะต้องใช้เลนส์ที่เปิดรูรับแสงให้กว้างๆ หรือ ทางยาวโฟกัสมากๆ
สรุปความหมายสั้นๆพอเข้าใจ
โบเก้ (Bokeh) คือ ความเบลอของภาพที่เกิดจากรูปร่าง
ของรูรับแสง นั่นเองครับ
จากหลักการข้างต้นแล้ว เราจึงเอามาประยุกใช้กับการถ่ายภาพให้เกิดภาพ โบเก้ (Bokeh) แปลกๆ และดูสวยงามน่าสนใจ และสร้างบรรยากาศในรูปแ
บบต่างๆ อันนี้ก็แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ ของแต่ละคน

มาดูภาพถ่าย โบเก้ในรูปแบบต่างๆกันนะครับ






แสงเทียนรูปดาว แบบนี้ก็ดูเก๋ดีครับ



โบเก้ (Bokeh) รูปหัวใจ


.............ส่วนวิธีการนั้น ก็ให้เราใช้กระดาษสีดำ ตัดเป็นรูปทรงต่างๆ ตามที่เราต้องการ แล้วเอาไปปิดหน้าเลนส์ ส่วนขนาดนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของ รูรับแสง ของเลนส์เราว่าปรับได้กว้างแค่ไหน การที่จะทำให้เกิดโบเก้เป็นรูปต่างๆได้นั้น ขนาดของรูป ต้องเล็กกว่าขนาดของรูรับแสง ถึงจะเกิดเป็นรูปทรงได้นะครับ

เอาภาพตัวอย่างมาให้ดูวิธีการทำ น่าจะพอเข้าใจกันนะครับ




วิธีการนี้ น่าจะทำได้เฉพาะกล้อง DSLR นะครับ ส่วนกล้อง คอมแพค
(Digital Compact) นั้นทำไม่ได้นะครับ ไม่เคยลองเหมือนกัน
เอาไปลองทำกันดูนะครับ ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพกันครับ......

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

MOTOR EXPO 2009+EOS500D คู่ใจ

วันที่ 13 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปงาน MOTOR EXPO 2009 มาเลยไปเก็บภาพ สาวสวยน่ารักๆมาฝาก ช่วงเย็นมีการจุดพลุด้วยแต่ไม่มีขาตั้งกล้องไปเลยไม่ได้เก็บภาพมาด้วยครับ...

อุปกรณ์ก็ Canon EOS 500D + Lens 18-55is เดิิมๆครับ





ฝากไว้แค่นี้ก่อนนะครับ คนเยอะมากกว่าจะได้มาแต่ละภาพ



ความเร็วชัตเตอร์

ก่อนอื่นเรามารู้จักกับม่านชัตเตอร์กันก่อนนะครับ ม่านชัตเตอร์ มีลักษณะเป็นกลีบโลหะบางๆ ทำด้วยไททาเนียม หรือผ้าเคลือบยาง การทำงานมี 2 แบบคือ เคลื่อนที่ตามแนวนอน (Focal Plane Shutter) และเคลื่อนที่ตามแนวดิ่ง (Copal Square Shutter) ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมผลิตแบบเคลื่อนที่ตามแนวดิ่งมากกว่า เพราะระยะทางการเคลื่อนที่สั้นกว่าแบบแนวนอน ทำค่าความเร็วชัตเตอร์สูงสุดได้มากกว่า เช่น 1/4000, 1/8000, 1/12000 วินาที ทำให้สามารถบันทึกภาพสิ่งเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้ดีขึ้น ลักษณะการทำงานคือเปิดและปิดตามระยะเวลาที่กำหนด ประกอบด้วยม่านชัตเตอร์ 2 ชุด ทำงานโดยม่านชุดแรกเปิดขึ้นเมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลง และม่านชัตเตอร์ชุดที่สองปิดลงเมื่อครบกำหนดตามเวลาที่ตั้งไว้ เช่น เราตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 1 วินาที เมื่อเรากดปุ่มชัตเตอร์ลง ม่านชัตเตอร์ชุดที่ 1 จะเปิดรับแสงที่ผ่านเข้ามา และเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 1 วินาที ม่านชัตเตอร์ชุดที่ 2 จะทำหน้าที่ปิดการรับแสง ก็เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการทำงานของม่านชัตเตอร์ครับ

ตัวเลขบอกค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นตัวเลขแสดงไว้ เช่น 1, 2, 4, 8, 16, 30, 60, 125, 250, 500, 1000, 2000 และ B ตัวเลขต่างๆ ที่ท่านเห็นอยู่นั้นเป็นตัวเลขที่มีค่าเป็นเศษส่วนของวินาทีเท่านั้น คือ 1/2 วินาที 1/4 วินาที 1/15 วินาที เรี่อยไปจนถึง 1/2000 หรือ 1/4000 วินาที
ตัวเลขต่างๆ เป็นค่าที่กำหนดให้แสงผ่านเข้ากระทบกับเซนเซอร์ ถ้าค่าแสงมากความเร็วชัตเตอร์ก็จะมีค่าสูงมากขึ้น ถ้าค่าแสงขณะนั้นน้อยความเร็วชัตเตอร์ก็จะลดต่ำลงตามลำดับครับ ค่าความเร็วชัตเตอร์แต่ละค่าห่างกันเรียกว่า 1 สต็อป (F stop) แต่ละสต็อปของการปรับความเร็วชัตเตอร์ก็จะมีผลต่อภาพไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ถ้าความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ถ้าถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหว ก็จะทำให้ภาพที่ได้ไม่คมชัด ต้องใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เช่น 1/500, 1/1000 เป็นต้น จึงจะหยุดภาพที่มีการเคลื่อนไหวให้นิ่งได้ครับ หรือสภาพแสงขณะนั้นน้อยมาก ค่าความเร็วชัตเตอร์ก็จะต่ำมาก ไม่สามารถบันทึกภาพได้ด้วยมือเปล่า ต้องใช้ขาตั้งกล้องประกอบด้วย ภาพจึงจะคมชัด
ส่วนในกล้อง ที่ใช้ระบบถ่ายภาพอัตโนมัติกล้องจะเลือกรูรับแสง และความความเร็วชัตเตอร์ให้อย่างเหมาะสมตลอดเวลาทำให้ได้ภาพที่พอดีเสมอครับ ฉะนั้นหากท่านที่ไม่มีความรู้เรื่องระบบการทำงานต่างๆ ของกล้อง ก็สามารถเลือกใช้ระบบอัตโนมัติ แต่ถ้าอยากให้ได้ภาพที่สวยงามแปลกตาแตกต่างไปจากเดิมท่านก็สามารถเปลี่ยนไปใช้ระบบการทำงานแบบปรับตั้งเอง(Manual)
เช่นใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆถ่ายภาพ เคลื่อนไหว หรือ กีฬา ความเร็วชัตเตอร์น้อยๆถ่าย
ภาพน้ำตกให้เป็นสาย หรือ ในถาพในที่แสงน้อย เพื่อให้มีความสว่างมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเลือกซื้อ กล้องดิจิตอล( Digital Camera )

กล้องดิจิตอล ( Digital Camera ) ในท้องตลาดตอนนี้มามีกมายหลายรุ่น หลายยี่ห้อ มากมายจนเลือกไม่ถูกกันเลย........

กล้องดิจิตอลนั้นก็จะมีรายละเอียดหรือคุณสมบัติมากมายในแต่ละตัว ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ก็จะเหมือนหรือแตกต่างกันบ้าง เราก็มาดูกันว่ากล้องนั้นมีรายละเอียดอะไรบ้าง

ต้องดูอะไรบ้างก่อนซื้อ

=> ประเภทของกล้อง (Format) ก่อนอื่นเราต้องเลือกประเภทของ กล้องดิจิตอล ( Digital Camera ) กันก่อนว่าต้องการประเภทไหน(Digital Compact )(Digital SLR-Link)หรือจะเป็น( Digital SLR )อันนนี้แล้วความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคนถ้าเอาไปมใช้งานทั่วๆไป หมายถึงการนำไปใช้งานในการถ่ายภาพทั่วไป ถ่ายรูปเวลาไปเที่ยว เก็บภาพทั่วๆไป เป็นต้น โดยลักษณะนี้ กล้องก็ไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นพิเศษอะไรมากมาย ความละเอียดก็ซัก 4-5 ล้าน pixel ก็เพียงพอ( Digital Compact )น่าจะเหมาะสมที่สุดเพราะใช้งานง่ายสะดวกแก่การพกพา เพราะขนาดค่อนข้างกระทัดรัด หรือถ้าต้องการคุณภาพมากกว่านี้ก็ใช้เป็น (Digital SLR-Link)ขนาดและราคาก็จะเพิ่มขึ้นมาหน่อย ส่วนโหมดการใช้งานก็ยังคงไม่ต่างกันมากกับ (Digital Compact) มากนัก แต่ถ้าต้องการความละเอียดของภาพสูงๆ เอาไปใช้ในงานอัดขยายภาพ หรือชอบการถ่ายภาพเป็นพิเศษ ก็แนะนำให้ใช้แบบ ( Digital SLR )เพราะมีฟังก์ชั่นโหมดการถ่ายภาพมากมาย ที่จะทำให้ได้ภาพที่มี คุณภาพ และมุมมองที่แตกต่างกันออกไป เพราะสามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมต่างๆเยอะแยะมากมาย ส่วนการใช้งานก็ค่อนข้างจะยุ่งยากพอสมควร ชอบแบบไหนนั้นก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการนำใช้งานของตัวเองครับ....

=> งบประมาณ อันนี้ก็ถือเป็นหัวใจสำคัญในการเลือกซื้อเหมือนกันครับ ประเภท ยี่ห้อ และการรับประกัน 3 อย่างนี้จะมีผลกับราคาของ กล้องดิจิตอล ( Digital Camera ) ประเภทของกล้องนี้เราคงเปลี่ยนแปลงลำบากถ้าตัดสินใจได้แล้ว เพราะถ้าไปเปลี่ยนประเภท ไปเราก็จะนำไปใช้งานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนยี่ห้อนั้นก็มีส่วนต่างของราคาอยู่บ้าง ในกล้องที่มีคุณสมบัติคล้ายๆกัน คนละยี่ห้อกันราคาก็จะต่างกันออกไป ส่วนการรับประกันนั้น จะมีผลกับราคาพอสมควร โดยเฉพาะกล้องแบบ ( Digital SLR )

=> วัสดุของตัวกล้อง (body) วัสดุของตัวกล้องนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้กล้องนั้นมีความทนทาน แข็งแรง ซึ่งในการเลือกซื้อนั้นต้องสังเกตจากตรงนี้ด้วย โดยในส่วนนี้กล้องส่วนใหญ่จะทำมาจากแมกนิเซียมอัลลอยด์หรือพลาสติกผสมหรือ กึ่งโลหะกึ่งพลาสติกเพื่อให้มีความทนทานและมีน้ำหนักเบา ซึ่งถ้าเป็นโลหะอย่างเดียวก็จะมีน้ำหนักที่มากเกินไป

=> ประเภทของเซ็นเซอร์ (Sensor type) เซ็นเซอร์ เป็นส่วนที่มีความสำคัญสำหรับกล้องถ่ายภาพเป็นอย่างมากหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจหลักเลยก็ได้ เนื่องจากเซ็นเซอร์นี้จะเป็นตัวรับภาพและทำการแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลไปประมวลผลเก็บลงสื่อบันทึกข้อมูล โดยเซ็นเซอร์ก็จะเป็นตัวบอกถึงความละเอียดในการถ่ายภาพของตัวกล้องว่าจะสามารถถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดเท่าไร สำหรับเซ็นเซอร์ที่นิยมใช้กันก็จะมีอยู่ 2 แบบคือ CCD และ CMOS ซึ่งก็มีข้อแตกต่างกันที่ว่า CCD จะกินไฟมากกว่า CMOS แต่ก็ให้ความละเอียดมากกว่า CMOS ถึงอย่างไรก็ตาม CMOS ก็ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีความละเอียดมากขึ้นแต่ก็ยังมีใช้ในกล้องไม่มากนัก นอกจากของทาง Canon

=> ขนาดของเซ็นเซอร์ (Sensor size) เป็นขนาดของตัวรับภาพ ซึ่งจะมีการวัดตามแนวของเส้นทแยงมุม เช่น 1/3.2 นิ้ว (4.54 x 3.42 มม.), 1/1.8 นิ้ว (7.18 x 5.32 มม.) เป็นต้น ซึ่งจากตัวอย่างนั้น ขนาดของเซ็นเซอร์ 1/1.8 นิ้ว จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า 1/3.2 นิ้ว

=> เซ็นเซอร์ที่ใช้งาน (Sensor manufacturer) ส่วนมากแล้ว เซ็นเซอร์ที่ใช้งานของกล้องยี่ห้อไหนก็จะเป็นเซ็นเซอร์ของยี่ห้อนั้นๆ ไปเลย เนื่องจากจะได้มีการรองรับการทำงานที่ดี เช่น กล้องของ Canon ก็ใช้เซ็นเซอร์ของ Canon, กล้องของ Nikon ก็ใช้เซ็นเซอร์ของ Nikon เป็นต้น แต่ก็อาจจะมีบางยี่ห้อที่ใช้เซ็นเซอร์ของยี่ห้ออื่นโดยส่วนมากนั้นก็จะเป็น กล้องแบบ OEM สะส่วนมาก

=> ความไวแสง (ISO rating) ความไวแสงเป็นตัววัดประสิทธิภาพของกล้องอีกตัวหนึ่ง โดยในการเลือกซื้อก็ให้เลือกซื้อช่วงของ ISO ที่มีค่าให้ห่างกันพอสมควร เช่น 50 กับ 400 หรือ 100 กับ 800 เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วกล้องแบบคอมแพคนั้นจะมีค่าไวแสงอยู่ที่ Auto, 50, 100, 200, 400 ส่วนกล้องแบบ SLR นั้นค่าความไวแสงจะสามารถปรับได้ตามความต้องการ เช่น 100 - 1600 ครั้งละ 1/3 stops เป็นต้น ข้อดีของค่า ISO น้อยก็คือ จะทำให้สามารถถ่ายภาพได้คมชัดดีกว่า ISO สูงแต่ถ่ายภาพในที่มืดไม่ค่อยดีนัก ส่วนค่า ISO สูงก็จะมีส่วนดีที่ทำให้สามารถถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยได้ดีแต่ความคมชัดของ ภาพนั้นจะลดลงไป แต่กล้องในปัจจุบันนั้นก็ได้ทำการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Noise Reduction ขึ้นมาเพื่อที่จะแก้ปัญหาในส่วนนี้ แต่ระบบนี้ของกล้องแต่ละตัวก็จะมีการทำงานที่ไม่เหมือนกันแล้วแต่เทคโนโลยี ที่คิดค้นกันขึ้นมา...

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การถ่ายภาพ Macro

การถ่ายภาพ Macro คือการถ่ายภาพที่อยู่ระหว่างกลาง ระหว่างการถ่ายภาพในระยะที่ใกล้ (closeup) และระยะประชิด (photomicrography) ด้วยการใช้กล้องถ่ายภาพธรรมดากับเลนส์ธรรมดา หรือด้วยการใช้มาโครเลนส์ (macro lenses) หรือด้วยการนำอุปกรณ์เสริมบางชนิดมาใช้ควบคู่กันไป เช่น กล่องพับ-ยืด (bellows) หรือด้วยการใช้ท่อต่อ (extension tubes) หรือว่าด้วยการใช้เลนส์ขยาย (supplementary closeup lenses) เพื่อให้ได้ขนาดของภาพ (image) เท่ากับขนาดของสิ่งที่ถ่าย (life size) หรือ 1:1ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการถ่ายภาพของเหรียญบาท ภาพที่จะได้ ซึ่งเรียกว่า image จะต้องเป็นขนาดเดียวกันกับตัวเหรียญ มิใช่เล็กกว่า หรือว่ามีขนาดเท่ากันแต่เกิดจากการอัด-ขยายภาพที่มาจาก image ที่เล็กกว่าของจริงเพื่อให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้ได้ภาพที่มีขนาดเดียวกัน ไปจนถึงการถ่ายภาพที่มีกำลังขยายที่ใหญ่กว่าด้วยการใช้กล้องถ่ายภาพธรรมดาต่อเข้ากับชุดของกล้องจุลทัศน์ (Microscope) ซึ่ง ชุดปกติที่ใช้ในการถ่ายภาพ macro จะมีกำลังขยายของเลนส์ (objective lens) ที่ 4X และตัวปรับมอง (eye piece) ที่ 10X ซึ่งจะได้ 40:1 ส่วนขนาดจบของ Photomacrography ก็คือขนาดเริ่มต้นของการถ่ายภาพ Photomicrography ซึ่ง อาจจะเป็น 10:1 หรือ 50:1 ก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังขยายของ objective lens กับ Eye Piece เพราะมิได้มีการกำหนดเป็นขนาดที่แน่นอนออกมา...





ขนาดเริ่มต้นและขนาดจบของการถ่ายภาพ Photomicrography เองก็ยังมิได้มีการกำหนดเป็นขนาดที่แน่นอนออกมาให้ใช้ เช่นกัน

เมื่อเราถ่ายภาพที่ 1:1 นั้น อย่าเข้าใจว่าเรากำลังถ่ายภาพ Macro นะครับ
เราเพิ่งจะจบการถ่ายภาพ Closeup กำลังเดินจากมาเท่านั้น และก็เพียงแค่เริ่มต้นที่จะเข้าไปในการถ่ายภาพ Macro แต่ยังถือว่าอยู่ในระหว่างช่วง Closeup
การ ถ่ายภาพที่จะให้ได้คุณภาพที่สูงในขนาดที่ใหญ่เกิน 1:1 นั้น มีทางเดียวที่จะถ่ายให้ดีได้คือการถ่ายในสตูดิโอด้วยการใช้กล้องจุลทัศน์


สำหรับในการถ่ายภาพ Macro ทั่วๆไป เราสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆได้ดังต่อไปนี้...
1) ด้วยการใช้ Macro Lenses ซึ่งเป็นเลนส์พิเศษที่ได้ผลิตขึ้นมาเพื่อที่จะให้ใช้ถ่ายภาพประเภท Closeups โดยเฉพาะ
เป็นเลนส์ fixed focal length หรือเลนส์เดี่ยวที่มีระยะความยาวอยู่ที่ 50 มม. 55 มม. 60 มม. และ 100 มม.
เลนส์เหล่านี้เป็นเลนส์ถ่ายภาพที่นอกจากจะใช้ถ่ายได้ตามความยาวตามปรกติของตัวมันเองแล้ว
ยังสามารถที่จะใช้ถ่ายภาพในระยะใกล้ได้ถึง 1:2 reproduction ratio หรือ half life size
และเมื่อได้ใช้ต่อเข้ากับท่อต่อ ซึ่งปรกติจะมาควบคู่กับเลนส์ก็จะทำให้สามารถใช้ถ่ายภาพได้ถึง 1:1 หรือ life size
อุปกรณ์ชิ้นนี้จะให้คุณภาพดีที่สุด สะดวกและเหมาะที่สุดในการพกพา แต่ก็จะแพงที่สุดด้วย

2) การใช้ Bellows หรือกล่องพับ-ยืด วิธีนี้เป็นการใช้กล่องพับ-ยืดใส่ระหว่างเลนส์กับตัวกล้อง
เพื่อทำให้ระยะทางระหว่างด้านหลังของเลนส์กับระนาบฟิล์มห่างออกจากกัน
จะสามารถให้อัตราการขยายได้สูงที่สุด เหมาะทั้งการใช้ในสตูดิโอและการนำไปใช้ในภาคสนาม ราคาของชุดก็ค่อนข้างสูง

3) การใช้ Extension Tubes หรือท่อต่อ ปกติจะมาเป็นชุดซึ่งจะมีอยู่ด้วยกันหลายระยะความยาว
วิธีใช้จะเหมือนกันกับการใช้ Bellows คือเป็นการทำให้ระยะทางของเลนส์กับฟิล์มห่างกันออกไป
ด้วยการใส่ระหว่างเลนส์กับตัวกล้อง แต่คุณภาพจะด้อยกว่าและราคาก็จะถูกกว่ากันมาก

4) การกลับเลนส์ หรือที่เรียกกันว่า Reversing Lens โดยการใช้ แหวนกลับเลนส์ (Reversing Ring) มาใส่
แล้วกลับด้านของเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพกับกล้องหรือจะใช้ร่วมกับกล่องพับยืดก็ได้
เราสามารถใช้เลนส์ที่ใช้ถ่ายรูปหรือเลนส์ของเครื่องอัดขยายภาพก็ได้

ยังมีการใช้ Supplementary Closeup Lenses หรือเลนส์ขยาย
บางครั้งก็เรียกว่า closeup attachment lenses หรือ pluses
ซึ่งเป็นเลนส์ขยายธรรมดาที่ได้รับการผลิตขึ้นมาเพื่อให้ใช้ใส่ที่ด้านหน้าของเลนส์เช่นเดียวกันกับแผ่นกรองแสง (Filters)
เพื่อใช้ช่วยเพิ่มกำลังขยายในการถ่ายภาพในระยะใกล้มากๆ เลนส์ประเภทนี้มีกำลังขยายเป็น diopter เช่น +1 +2 +3 และ+4 เป็นต้น
สามารถ ใส่ทับกันได้เพื่อให้ได้กำลังขยายที่สูงกว่า หากเลือกที่จะใช้วิธีนี้ ควรเลือกใช้เลนส์ที่มีคุณภาพสูงหน่อยเพื่อที่จะให้ได้ภาพที่มีคุณภาพดีขึ้น
หรืออย่างน้อยก็ควรจะเท่าที่เลนส์ของกล้องสามารถผลิตได้
(การใช้เลนส์ขยายเพื่อเสริมกำลังขยายไม่ใช่การถ่าย closeups ที่แท้จริง
เพราะมันเป็นการดึงภาพให้เข้ามาใกล้ด้วยกำลังขยายของเลนส์ เช่นเดียวกันกับในการใช้เทเลโฟโต้เลนส์มากกว่าแต่ก็เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไป)

...นอกจากนี้ยังมี Zoom Lenses มากมายที่ระบุว่าเป็น Macro Lenses
แต่เลนส์เหล่านี้จะมีความสามารถในการสร้างภาพบนฟิล์มให้มีขนาดใหญ่ที่สุดได้เพียง 1:4 reproduction ratio หรือ Magnification ที่ 0.25 X ของกำลังขยาย เท่านั้นเอง


การถ่ายภาพในระยะเช่นนี้ความคมชัดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง แม้แค่กล้องสั่นแต่เพียงเล็กน้อยก็อาจจะทำลายภาพได้เลย ดังนั้นจึงควรที่จะใช้ขาตั้งที่มีความแข็งแรงมั่นคงและใช้สายลั่นชัตเตอร์ช่วยในการกดชัตเตอร์เพื่อลดความสั่นสะเทือน หากไม่ได้เตรียมไปก็ให้ใช้วิธีตั้ง self timer หรือ/และล็อคกระจกแทน และถ้าหากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มือถือ ควรตั้งค่าความไวแสงสูงเช่น ISO 400 หรือ 800 หรือสูงกว่า และให้ใช้ความไวของชัตเตอร์ที่สูงขึ้น เพื่อเป็นการช่วยลดความสั่นสะเทือนของกล้อง และการเคลื่อนไหวของสิ่งที่จะถ่ายได้ไปได้บ้าง หรือไม่ก็คงจะต้องใช้แฟลชช่วย และเนื่องจากการถ่ายภาพในลักษณะนี้ การโฟกัสค่อนข้างจะยากและความชัดลึกเกือบจะไม่มีให้เห็น ดังนั้นการโฟกัสจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ขยับเพียงนิดเดียวเป็นเปลี่ยน
หาก มีรางที่ใช้สำหรับเลื่อนกล้องก็ควรใช้ เมื่อโฟกัสขั้นต้นเรียบร้อยแล้วให้ใช้วิธีเลื่อนกล้องเข้า-ออก เพื่อหาความชัด แทนการปรับหน้ากล้อง ควรใช้หน้ากล้องที่แคบเพื่อที่จะได้ความชัดลึกบ้าง แต่การใช้หน้ากล้องที่แคบสุด ก็จะมีปัญหาในเรื่องความคมชัดได้
ดังนั้นหากต้องการความคมชัดที่ดี ขาตั้งต้องมีความแข็งแรง สายลั่นชัตเตอร์ต้องมี หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวหรือการสั่นสะเทือน

เลนส์ (Lens)

เลนส์ (Lens) คือวัตถุที่ทำจากแก้วชนิดดีมีลักษณะกลม ผิวเรียบ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ เลนส์นูนและเลนส์เว้า ใช้ทำหน้าที่รับภาพและรับแสงจากภายนอกตัวกล้องไปยังวัสดุรับภาพ(CCD ในกล้องดิจิตอล) โดยเลนส์ของกล้องถ่ายภาพจะมีหลายชนิดหลายช่วงการใช้งาน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในงานแต่ละประเภท

camera-lens
รูปเลนส์ ต่างๆ

ก่อนที่จะกล่าวถึงคุณสมบัติของเลนส์ ต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเลนส์ก่อนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง โดยปกติทั่วไปเราคงเคยได้ยินชื่อของเลนส์ เช่น เลนส์ 28 มม. เลนส์ 70-300 มม. เป็นต้น โดยตัวเลขเหล่านี้คือขนาดของความยาวโฟกัส หรือความยาวระยะชัด (Focal Lenght) ช่วงความยาวนี้มักจะเขียนไว้ที่ขอบตัวเลนส์ เพื่อที่จะแสดงให้ผู้ที่จะใช้เลนส์ได้มีความสะดวกในการเลือกใช้งาน ความยาวโฟกัสของเลนส์นี้จะมีตัวเลขบอกความยาวไว้ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรหรือนิ้ว

โดยความยาวโฟกัส(ระยะ f ในรูป) ก็คือระยะห่างระหว่างตัวเลนส์กับวัสดุรับภาพของกล้องนั่นเอง โดยถ้าเราพิจารณาจากภาพก็จะเห็นได้ว่า ยิ่งค่า f มากขึ้นเท่าไหร่(ยิ่งเลนส์ห่างจาก CCD เท่าไหร่) มุมของภาพก็จะนิ่งแคบลงเท่านั้น

เลนส์กล้องถ่าย ภาพใดก็ตามที่มีความยาวโฟกัสของเลนส์ ยิ่งยาวยิ่งทำให้มุมของการถ่ายภาพแคบ และ ช่วยย่นระยะของทางที่มองเห็นให้ใกล้เข้ามา เลนส์ดังกล่าว ซึ่งได้แก่เลนส์ถ่ายไกล(Telephoto Lens) เป็นต้น นอกจากนี้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสแตกต่างกัน นอกจากสร้างผลทางภาพให้มีขนาดต่างกันแล้ว ยังสร้างผลของช่วงความชัดให้มีความแตกต่างกันอีกด้วย โดยความยาวโฟกัสยิ่งยาวมาก ช่วงความชัดยิ่งสั้นลง ตรงกันข้าม ถ้าความยาวโฟกัสยิ่งสั้นมาเท่าใด ช่วงความชัดของภาพจะมีมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นสรุปได้ว่าความยาวของโฟกัสของเลนส์มีผลต่อการถ่ายภาพ 2 อย่างคือ
1. ทำให้มุมของภาพ กว้างหรือแคบได้
2. ทำให้ช่วงความชัดมีมากหรือน้อยลงได้

ขนาดรูรับแสงของเลนส์ (Aperture)
ขนาดของช่องรูรับแสงของเลนส์กล้อง จะบอกได้ว่าเลนส์ตัวนั้นสามารถเปิดรูรับแสงได้กว้างเท่าไหร่
โดยจะมีผลต่อการถ่ายภาพ 2 ประการคือ
1. ทำให้แสงสว่างผ่านเลนส์เข้าไปในกล้องได้มากขึ้น ทำให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้สูงขึ้น
2. การตั้งช่องรับแสงเล็กจะได้ภาพที่มีช่วงความชัดมาก ในทางตรงกันข้ามถ้าตั้งช่องรับแสงขนาดใหญ่
ภาพที่ได้ช่วงความชัดจะน้อยลงไป


เลนส์ของกล้องแบ่งออกเป็นระยะหรือลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

1. เลนส์มาตรฐาน (Standerd Lens) เป็นเลนส์ที่มีคุณสมบัติใช้ถ่ายภาพทั่วไป ลักษณะภาพที่ได้เหมือนกับที่ตาคนมองดูทั่วไป เป็นเลนส์ขนาดความยาวโฟกัสประมาณ 50 มม.
2. เลนส์ถ่ายไกล (Telephoto Lens) เป็นเลนส์เหมือนกล้อง ส่องทางไกล เป็นเลนส์ที่มีความยาวของโฟกัสยาวกว่าเลนส์ธรรมดา ทำให้มุมการถ่ายภาพแคบลง คือทำหน้าที่ขยายภาพที่อยู่ไกลให้โตขึ้น เสมือนหนึ่งที่ไปตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับวัตถุที่ถ่าย สะดวกในการถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ไกล ซึ่งขณะนั้นผู้ถ่ายไม่สามารถเข้าไปตั้งกล้องในระยะใกล้ ๆ กับวัตถุนั้นได้ เช่น การถ่ายภาพสงคราม การแข่งกีฬา การถ่ายภาพสัตว์น้ำ เช่น เลนส์ที่ขนาดความยาวโฟกัสมากกว่า 135 มม. ขึ้นไป
3. เลนส์มุมกว้าง( Wide angle lens) เป็นเลนส์ที่ มีความยาวโฟกัส สั้นกว่าเลนส์ธรรมดา จึงทำให้มุมของการถ่ายภาพได้กว้างกว่าใช้เลนส์ธรรมดาถ่ายมาก มีระยะความชัดมาก โดยยิ่งเลนส์มุมกว้างมากเท่าไหร จะทำให้สิ่งที่อยู่ใกล้โตและไม่ได้สัดส่วน(สวยไปอีกแบบ) ใช้ถ่ายในสถานที่อันจำกัดไม่สามารถตั้งกล้องให้ห่างจากที่ถ่ายได้มาก เช่น การถ่ายภาพสิ่งก่อสร้างสูงๆ หรือยาวมาก ๆ ซึ่งต้องการถ่ายอยู่ในภาพทั้งหมด เบื้องหลังของผู้ถ่ายมีสิ่งกีดขวางไม่สามารถถอยไปได้อีก เช่น ติดกำแพง แม่น้ำ โดยเลนส์เหล่านี้จะมีขนาดความยาวโฟกัสประมาณตั้งแต่ 16 – 35 มม.
4. เลนส์ตาปลา ( Fish eye lens) เป็นเลนส์ที่ให้ภาพที่มีลักษณะคล้ายภาพที่ปลามองเห็นเมื่อมองขึ้นมาจากในน้ำ เป็นเลนส์ที่กินมุมในการถ่ายภาพได้กว้างกว่าเลนส์ทุกชนิด คืออาจจะกว้างถึง 180 องศา เพื่อให้เกิดภาพนั้นผิดแผกแตกต่างไปจากภาพถ่ายธรรมดา และต้องการให้ภาพสะดุดตาแก่ผู้ชมภาพ มุมของการถ่ายภาพจะกว้างกว่าธรรมดามากประมาณ 3-4 เท่า แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการถ่ายภาพชนิดนี้ คือเท้าของผู้ถ่ายจะติดอยู่ในภาพ ถ้าผู้ถ้ายืนในรัศมีของภาพนั้น วัตถุถ่ายด้านข้างในภาพจะดูใหญ่โตน่าเกรงขาม เลนส์ชนิดนี้
จะให้ช่วงความชัดลึกมาก แม้ตั้งระยะถ่ายไกลสุดก็ตาม เช่น เลนส์ที่ขนาดความยาวโฟกัสตั้งแต่ 10 มม. ลงมา
5. เลนส์ซูม ( Zoom lens ) เป็นเลนส์ที่มีหลายความยาวโฟกัสอยู่ในตัวเดียว นิยมใช้มากในปัจจุบัน สามารถเลือกใช้ระยะโฟกัสเท่าใดก็ได้ตามที่เลนส์นั้นบอกไว้ เช่น 70 -200 มม. , 85 – 300 มม. , 800 – 1200 มม. เป็นต้น
6. เลนส์มาโคร ( Macro Lens) คล้ายกับเลนส์ทั่วไปแต่สามารถใช้ถ่ายภาพระยะใกล้มาก ๆ ได้ ทำให้เห็นรายละเอียดใกล้ๆ เช่น ถ่ายแมลงหรือวัสดุเล็กๆเป็นต้น โดยในกล้องคอมแพคจะสามารถเข้าใกล้วัตถุได้เกินครึ่งฟุต โดยในปัจจุบันเลนส์มาโครที่ผลิตสำหรับกล้อง SLR มักทำออกมาเป็นแบบของซูมเลนส์ได้ด้วย

ที่มา: klongdigital.com


C-PL ฟิลเตอร์ [circularly polarized]

C-PL ฟิลเตอร์ (circularly polarized) คืออะไร ???
ฟิลเตอร์ C-PL เป็นฟิลเตอร์ที่มีประโยชน์ในแง่การตัดแสงสะท้อนที่สะ ท้อนออกมาจากผิวของวัตถุที่มีความมัน เวลาใช้ฟิลเตอร์ซีพีแอล จะช่วยกรองแสงสะท้อน ทำให้เราได้สีที่อิ่มตัวมากขึ้น
ใช้กับการถ่ายท้องฟ้าก็จะทำให้ฟ้าเข้มขึ้น ถ่ายภาพพื้นน้ำก็สามารถตัดแสงสะท้อนออกไปได้

ส่วนประกอบของ
C-PL ฟิลเตอร์ (circularly polarized) มีอยู่สองส่วน
1.คือส่วนที่มีเกลียวหมุนติดกับหน้าเลนส์
2.คือส่วนของหน้าฟิลเตอร์ส่วนนี้จะเอาใว้หมุนเพื่อตัดแสงสะท้อนจากผิววัตถุ

หลักการใช้งานของ
C-PL ฟิลเตอร์ (circularly polarized)
1.ก็ต้องใส่ฟิลเตอร์เข้าไปก่อนจะรู้ได้อย่างไรว่ากล้องของเราจะใช้ฟิลเตอร์ขนาดเท่าใหร่ไปดูหน้ากล้องครับ จะเขียนบอกว่าหน้ากล้องเรามีขนาดกี่ mm.
2.เมื่อสวมCPLเข้าไปแล้วค่า Fกับสปีดชัตเตอร์เราจะลดลงจะลดลงเท่าใหร่ก็ขึ้นอยู่ก ับความเข้มของสีฟิลเตอร์ครับแต่อย่างน้อยๆก็ 1-1.5 สต๊อปเพราะฉนั้นเวลาเราสวมฟิลเตอร์ตัวนี้ถ่ายภาพเราก ็ควรจะชดชเยแสงใหเป็น+เผื่อไปด้วย ถ้าเราวัดแสงมาพอดีภาพที่ได้มันจะมืดหรือUnderนั่นเอง
3.โฟกัสไปยังวัตถุก่อนทุกครั้งแล้วค่อยหมุนฟิลเตอร์ค รับหมุนไปเรื่อยจนแสงสะท้อนนั้นมันหายไปสามารมองได้จ ากช่องView Fider

เทคนิคเบื้องต้น การถ่ายภาพประเภทต่างๆ

การถ่ายภาพทิวทัศน์

1.เลือกจุดสนใจในบริเวณทั้งหมด

2.ตั้งระยะชัดที่อินฟินิตี้

3.เปิดรูรับแสงให้แคบที่สุด

4.ควรมี Foreground

5.ควรเลือกวันที่ฟ้าโปร่ง

6.นิยมให้แสงเข้าทางด้านข้าง/ย้อนแสง (เช้า-เย็น)

7.ใช้ฟิลเตอร์ PL ช่วยตัดหมอก และเพิ่มความเข้มของท้องฟ้า

8.หาส่วนประกอบอื่น เช่น แม่น้ำ เรือ คน เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้ภาพ

9.การถ่ายน้ำตก ควรตั้งชัตเตอร์ต่ำ (1/15) เพื่อให้ได้ลักษณะน้ำที่ตกลงมาเป็นสายยาว



การถ่ายภาพบุคคล

1.เตรียมเสื้อผ้าที่มีสีสันสวยงาม เหมาะกับตัวแบบ

2.หลีกเลี่ยงฉากหลังที่จะมาแย่งจุดสนใจ อย่าให้มีเสา ต้นไม้อยู่ด้านหลังศีรษะ

3.จัดท่าทางให้เป็นธรรมชาติ หรือให้ตัวแบบทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อแก้ความเขอะเขิน

4.จัดช่องว่าง (Space) ให้เหมาะสม

5.ยืนให้ไกลจากแบบแล้ว Zoom In เข้าไปจะได้ภาพสวยกว่ายืนใกล้แบบ

6.อย่าให้แสงเข้าโดยตรงเพราะตาจะหยี และไม่ควรถ่ายภาพตอนเที่ยงเพราะจะทำให้มีเงาใต้ตา อาจแก้ด้วยการใช้ Reflex หรือแฟลชลบเงา

7.เน้นแสงในแนวเฉียงหรือด้านหลังจะช่วยให้เกิดแสงบริเวณริมผมช่วยให้แบบเด่นออกมาจากฉาก

8.หากถ่ายภาพย้อนแสงหรือฉากหลังสว่างมากให้ตั้ง Over ไว้ 1/2 - 1 stop หรือใช้แฟลชช่วยให้หน้าสว่างขึ้น

9.ภาพเด็กควรเน้นที่แววตา คนแก่ควรเน้นที่ริ้วรอย



การถ่ายภาพดอกไม้

· เน้นดอกไม้เพียง 1-2 ดอก และถ่ายชัดตื้น

· ควรให้ฉากหลังมีสีอ่อนหรือเข้มตรงข้ามกับสีดอกไม้

· ถ้ากลับหนาควรให้แสงส่องมาด้านข้าง ถ้ากลีบบางควรให้แสงส่องมาด้านหลังของดอกไม้

· เวลาที่เหมาะสมคือช่วงเช้า เพราะดอกไม้จะสดชื่น มีน้ำค้างเกาะ แต่หากดอกไม้แห้งเกินไป ควรเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดอกไม้โดยการใช้น้ำฉีดไปบนกลีบดอก

· ควรถ่ายให้มองเห็นเกสรของดอกไม้

· หากมีแมลงจะช่วยให้ภาพสวยขึ้น หรืออาจหาน้ำหวานหรือน้ำผึ้งมาหยอดเพื่อล่อแมลง

อุปกรณ์ต่างๆของกล้องดิจิตอล

อุปกรณ์ต่างๆของ กล้องดิจิตอล (Digital Camera) ที่ควรรู้จัก...

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ส่วนประกอบของ กล้องดิจิตอล(Digital Camera)

กล้องดิจิตอล(Digital Camera)ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักๆดังนี้...

* เลนส์ถ่ายภาพ (Lens)- คือวัตถุที่ทำจากแก้วชนิดดีมีลักษณะกลม ในกล้องถ่ายภาพ เลนส์ทำหน้าที่รับภาพและรับแสงจากภายนอกตัวกล้องไปยังวัสดุไวแสง


*แบตเตอรี่ - แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบตเตอรี่ชนิด Li-ion (ลิเทียม ไอร์ออน) และ NiMH (นิกเกิล เมธัลไฮดราย) ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติเด่นคนละแบบ ซึ่งกล้องขนาดเล็กมักใช้ Li-ion เนื่องจากมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา และเก็บประจุได้มาก ส่วน NiMH มักจะพบในกล้องระดับกลาง และ D-SLR จนถึง SLR เนื่องจาก เก็บประจุไฟได้มาก และสามารถหาเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย (สามารถใช้ แบตเตอรี่ชนิด AA ทดแทนได้)


* แฟลช
- แฟลชจะเป็นตัวเพิ่มแสงในกรณีที่ภาพมืดเกินไป จนอาจจะทำให้เกิดการสั่นไหวของภาพ แต่การใช้แฟลชจะทำให้ อุณภูมิสีของภาพ เปลี่ยนแปลงไป ในกล้องดิจิตอลคอมแพค จะตั้งค่าแฟลชอัตโนมัติ




- ตัวกล้อง (Body) มีลักษณะเป็นกล่องทึบแสงซึ่งมีหน้าที่ไม่ให้แสงสว่างผ่านเข้าไปยังตัวกล้อง ได้ บางรุ่นสามารถกันฝุ่น กันน้ำได้ด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบ ตัวกล้องมีขนาด
แตกต่างกันไปตามคุณภาพและราคาของกล้อง

- ช่องมองภาพ เพื่อใช้มองภาพและจัดองค์ประกอบของภาพแล้วถ่ายภาพได้ทันที นอกจากนี้ยังมีช่อง
มองภาพที่เป็นจอ LCD ติดอยู่กับตัวกล้อง ทำงานเช่นเดียวกับช่องมองภาพธรรมดา ภาพที่ปรากฎจะ
เหมือนกับภาพที่ถ่ายออกมาได้ทุกประการ ช่องมองภาพมี 2 ชนิดคือ


- หน่วยความจำ เปรียบเทียบได้กับฟิล์มของกล้องถ่ายภาพธรรมดา หน่วยความจำทำหน้าที่ในการบันทึก
ภาพถ่ายที่ได้จากกล้องดิจิทัลลงบนหน่วยความจำของตัวกล้องซึ่งมี 2 ประเภท คือ หน่วยความจำภายในตัวกล้องเอง และหน่วยความจำภายนอก ที่เราเดินวื้อมาใว่กันในท้องตลาด เช่น 8GB 16GB 32GB 64 128 256GB ตามแต่เทคโนโลยี
ซึ่งมีทั้งที่เป็นแบบ CF(compact flash) หรือ SD (Secure Digital) แต่อย่างที่บอกครับเทคโนโลยีไปได้เร็วมาก กล้องเราก็จะพัฒนาออกมาเพื่อให้ได้ตามทัน เช่นการบันทึกภาพเคลื่อนไหว จะต้องใช้หน่วยความจำมากขึ้นในการบันทึก แล้วตัวที่มาคู่กันก็คือความเร็วในการบันทึก เราจึงมักพบเมมโมรีแบบ Hi speed ซึ่งจะมีความเร็วในการเขียนข้อมูล และอ่านสูงกว่าการ์ดปกติ

- ปุ่มควบคุมการทำงาน มีหน้าที่จัดการกับลักษณะของภาพถ่าย จะทำงานคู่กับเมนูการทำงานที่จะแสดงผล
ออกทางจอ LCD กับตัวกล้อง ซึ่งกล้องแต่ละตัวก็จะมีการทำงานของปุ่มควบคุมการทำงานและเมนู
ควบคุม การทำงานที่ต่างกันออกไป เช่น ปุ่มปรับ ISO เลือก WB(White Balance) เป็นต้น

* ตัวรับภาพ (Image Sensor) - หรือตัวรับภาพซึ่งมีทั้งแบบฟิล์ม และแบบ Digital โดยแบบ Digital นั้นจะมีอุปกรณ์เช่น CCD, CMOS เป็นตัวรับภาพ ซึ่งทั้งฟิล์มและตัวรับภาพดิจิตอลนั้น จะทำหน้าที่ในการรับแสง โดยฟิล์มจะไปเก็บในรูปแบบปฏิกิริยาเคมีบนเนื้อฟิล์ม ส่วนแบบดิจิตอลจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าและทำหน้าที่ประมวลผลต่อไป CCD และ CMOS ซึ่งทำจาก Silicon ด้วยกันทั้งคู่ ต้นทุนการผลิต CCD จะสูงกว่า แต่ CCD จะมี Noise มากกว่ากว่า CMOS อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ขึ้นกับความสามารถของโปรแกรมของกล้องนั้นๆอีกด้วย บริษัทผู้ผลิตกล้อง ส่วนใหญ่มักจะใช้ CCD จาก Sony ซึ่งมีปัญหาใน CCD บางรุ่น

- ชัตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวสั่งกล้องหาโฟกัส และบันทึกภาพ ในตัวเดียวกัน โดยส่วนใหญ่แล้วปุ่มนี้เมื่อกดลงไปครึ่งปุ่มและค้างไว้ก่อน จะเป็นการสั่งให้กล้องทำการหาโฟกัสของภาพ และเมื่อโฟกัสภาพได้ จากนั้นจึงกดลงต่อจากครึ่ง เป็นสุดเลยครับ จะเป็นการบันทึกภาพ



กล้อง Digital Single Lense Reflex (DSLR)



กล้อง Digital Single Lense Reflex (DSLR) SLR ย่อมาจาก Single Lense Reflex แปลว่าใช้การสะท้อนของเลนส์ชุดเดียวทั้งแสงที่จะตกลงใน CCD และแสงที่เข้าสู่ตาในช่องมองภาพ ส่วนใหญ่ภาพที่เกิดในช่องมองภาพจะเกิดจากแสงจริงสะท้อนผ่านชิ้นเลนส์เข้าสู่ ตาไม่ได้เกิดจากการรับภาพของ CCD จึงไม่สามารถมองภาพผ่านทาง LCD ได้ มีเลนส์ขนาดใหญ่เพราะมีขนาด CCD ที่ใหญ่ CCD รับแสงเฉพาะตอนที่ม่านชัตเตอร์เปิดให้แสงผ่านเท่านั้น สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ มีทั้งเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสที่ตายตัว(Fixed) หรือ เปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ (Zoom) แต่มีกล้อง DSLR บางชนิดที่สามารถมองภาพจาก LCD ได้โดยแยก CCD ออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกเอาไว้ประมวลผลภาพออกทาง LCD อีกชุดไว้บันทึกภาพ กล้องประเภทนี้มีตัวกล้องที่ใหญ่



กลไกและการทำงานของกล้อง DSLR (Digital Single-Lens Reflect)

กลไกการทำงานของกล้องประเภทนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานไปสู่การทำงานของกล้องอื่นๆด้วย กล้อง DSLR นั้น ชื่อเต็มๆของมันก็ตือ Digital Single-Lens Reflect ว่าแต่ ทำไมต้องเป็น Single-Lens Reflect? Single Lens แปลออกมาตรงตัวได้ว่าเลนส์เดี่ยว นั่นก็คือกล้องที่มีเลนส์เพียงตัวเดียว ส่วนคำว่า Reflect นั้นเกิดขึ้นมาจากกระจกสะท้อนภาพอันหนึ่งซึ่งวางอยู่ด้านหน้าเซนเซอร์รับภาพ ซึ่งจะทำหน้าที่สะท้อนแสงที่ผ่านเข้ามาทางเลนส์ขึ้นสู่ช่องมองภาพ (Viewfinder)

กล้อง DSLR (Digital Single-Lens Reflect

จากภาพกลไกการทำงานของระบบ DSLR (Digital Single-Lens Reflect) เราจะเห็นว่า เมื่อแสงลอดผ่าน Lens (1) เข้ามาแล้วก็จะวิ่งไปชนเข้ากับกระจกสะท้อนภาพ (Reflected Mirror) (2) หักเหแสงที่ได้ขึ้นสู่ด้านบน ผ่าน Focusing Screen (6) (ถ้าเพื่อนๆนึกภาพไม่ออกว่า Focusing Screen คืออะไร .. ลองถึงถึงภาพเวลาที่เรามองผ่าน Viewfinder แล้วจะเห็นเป็นจุดโฟกัส 3 จุดมั่ง 10 จุดมั่ง แล้วแต่รุ่นของกล้อง จุดที่เรามองเห็นเหล่านั้นล่ะครับ เกิดมาจากลวดลายบนเจ้า Focusing Screen นี่เอง) ทีนี้แสงที่สะท้อนขึ้นมามันก็จะพุ่งขึ้นสู่ด้านบน แล้วทำยังไงล่ะ เราถึงจะเห็นภาพผ่าน Viewfinder (8)ได้ .. เค้าก็คิดค้นสิ่งหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า Pentaprism (7) เพื่อหักเหแสงอีกทีนึงเข้าสู่ Viewfinder และด้วยระบบนี้เราจะเห็นได้ว่า ภาพที่มองเห็นตอนเล็งผ่าน Viewfinder นั้น มันก็คือภาพภาพเดียวกับที่เลนส์มองเห็นเลย ตรงนี้มีประโยชน์มากๆสำหรับการจัดองค์ประกอบภาพ ทำให้ความคลาดเคลื่อนมีน้อยลง (กล้องบางชนิดที่มีช่องมองภาพด้านบน แต่ไม่ใช่ DSLR ภาพที่เรามองเห็น จะเป็นภาพที่มองทะลุกระจกมองภาพออกไปเฉยๆ ไม่ใช่ภาพที่สะท้อนขึ้นมาจากเลนส์ ทำให้การจัดองค์ประกอบอาจมีการผิดเพี้ยนได้)


กล้องคอมแพ็คระดับสูง(Prosumer)(DSLR - Like)

กล้องคอมแพ็คระดับสูง(Prosumer)(DSLR - Like) พัฒนาขึ้นจากคอมแพคให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น CCD ใหญ่ขึ้น เมื่อ CCD ใหญ่ขึ้นเลนส์ก็ต้องใหญ่ขึ้น ทำให้สามารถเก็บแสงได้มากขึ้นสีสันและมิติภาพจึงมีมากกว่าคอมแพค แต่การเก็บภาพยังใช้หลักการของคอมแพคคือ CCD รับภาพตลอดเวลาส่งให้ช่องมองภาพและจอ LCD การที่ CCD ต้องรับภาพตลอดเวลากลายเป็นข้อจำกัดของกล้องชนิดนี้ทำให้ไม่สามารถขยายขนาด CCD ให้ใหญ่ทัดเทียมกับ DSLR ได้ เลนส์ที่ติดตั้งก็จะติดตั้งมากับตัวกล้อง ภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นภาพเดียวกับภาพที่ต้องการถ่าย สามารถปรับรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้แต่อยู่ในวงแคบหรืออาจจะได้เพียง อย่างเดียว








กล้องคอมแพค(Compact)

กล้องคอมแพค(Compact) เป็นกล้องที่ใช้ CCD ตลอดเวลาเพื่อส่งภาพไปที่จอ LCD มี CCD ขนาดเล็กเพื่อให้เกิดความร้อนใน CCD น้อยที่สุด เมื่อต้องการบันทึกภาพ ก็ Copy ข้อมูลบน CCD ในวินาทีที่ต้องการแล้วเอาไปโพรเซสต่อ มีเลนส์ที่ติดตั้งคู่กับ CCD ตลอดเวลาไม่สามารถถอดออกได้ในการใช้งานปรกติ ภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นคนละภาพ(ใกล้เคียง)กับภาพที่ต้องการถ่าย สามารถปรับรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้น้อย ตัวกล้องมีขนาดเล็ก



การทำงานของกล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact)

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ก่อนจะจากกันวันนี้ ผมขออ้างอิงไปถึงการทำงานของกล้องดิจิตอลคอมแพคDigital Compact) นิดนึงครับ การทำงานเพื่อบันทึกภาพของกล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact) ก็เป็นหลักการเดียวกับกล้อง DSLR นี่ล่ะครับ เพียงแต่กล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact) จะไม่มีกระจกสะท้อนภาพ ไม่มีม่านชัตเตอร์ แล้วก็ไม่มี pentaprism อย่าเพิ่งงงกันนะครับ ว่ามันจะถ่ายรูปออกมาได้อย่างไร … อธิบายให้ฟังได้ง่ายๆว่า เมื่อแสงลอดผ่านเลนส์เข้ามามันก็จะตกกระทบลงบนเซนเซอร์รับภาพเลยครับ นั่นก็คือเซนเซอร์จะได้รับแสงตลอดเวลาที่เปิดกล้อง ตรงนี้ทำให้เกิดข้อดีคือ สามารถนำมาทำเป็นระบบ Live view อย่างที่เราใช้ๆกันอยู่ได้ (ระบบ Live View ก็คือการที่เรามองภาพก่อนถ่ายผ่านทางหน้าจอ LCD แทนที่จะเป็น Viewfinder) ทีนี้พอเวลาเรากดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพ กล้องก็จะใช้ระบบ ควบคุมแบบ Electronics เพื่อปิด-เปิด การทำงานของเซนเซอร์รับภาพให้ได้ปริมาณแสงตามที่เราตั้งไว้ เมื่อนำค่าแสงที่ได้ไปประมวลผลต่อ ก็จะได้ภาพสวยๆออกมาตามที่เราต้องการ .. เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ผมขอสรุปแบบนี้ครับ (

  • ม่านชัตเตอร์ –> ถูกแทนที่ด้วยระบบ Electronics ตัดต่อการทำงานด้วยวงจรไฟฟ้า
  • กระจกสะท้อนภาพ –> ไม่จำเป็นต้องมีเพราะใช้การแสดงผลภาพผ่านทาง Live View
  • Pentaprism –> ไม่จำเป็นต้องมีเนื่องจากไม่ต้องใช้กระจกสะท้อนภาพ

และด้วยเหตุผลหลักๆสามข้อนี้ล่ะครับ ทำให้กล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact) เป็นกล้องเป็นกล้องที่มีจุดเด่นอย่างที่มันเป็น นั่นก็คือ มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก และใช้งานง่าย เป็นที่นิยมของคนทั่วไป


ประเภทของ กล้องดิจิตอล (Digital Camera)

กล้องดิจิตอล (Digital Camera) คือ กล้องถ่ายรูปที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม ภาพที่ถ่ายได้จะถูกบันทึกแบบดิจิตอลโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในกล้อง โดยอยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพซึ่งสามารถส่งเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ออก มาเป็นภาพ กล้องดิจิตอล (Digital Camera) ส่วนใหญ่จะแบ่งตามการใช้งานของ CCD และลักษณะการใช้เลนส์ได้ 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้

1.กล้องคอมแพค(Compact)
2.กล้องคอมแพ็คระดับสูง(Prosumer)(DSLR - Like)
3.กล้อง Digital Single Lense Reflex (DSLR)

ประวัติ ความเป็นมาของ กล้องดิจิตอล [ตอน3]

##======================##======================##======================##
##[ประวัติ กล้องดิจิตอล ตอน1]##[ ประวัติ กล้องดิจิตอล ตอน2]##[ประวัติ กล้องดิจิตอล ตอน3]##
##======================##======================##======================##
ปี 1996 นับเป็นปีที่มีกล้องดิจิตอลจากผู้ผลิตรายต่างๆ มากขึ้น อาทิ Agfa ePhoto 307 ความละเอียด 3 แสนพิกเซล Canon PowerShot 600 เซ็นเซอร์ CCD ขนาด 1/3 นิ้ว ความละเอียด 5 แสนพิกเซล Casio QV - 300 ความละเอียด 3 แสนพิกเซล Kodak DC 20 กล้องดิจิตอล ราคาประหยัด ความละเอีย1.8 แสนพิกเซล มีหน่วยความจำในตัวขนาด 1 MB Fuji DS - 8 เซ็นเซอร์ 1/3 นิ้ว ความละเอียด 3 แสนพิกเซล

ส่วนกล้องคอมแพคความละเอียดสูงก็มี Kodak DC - 120 ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล มีจอมอนิเตอร์ทางด้านหลัง เลนส์ซูมขนาด 38 - 114 ม. f/2.5 นอกจากนี้ Konica และ Kyocera ก็ได้เปิดตัวกล้องดิจิตอลของตัวเองเป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยมีความละเอียด 3 แสนพิกเซล หรือ 640 x 480 พิกเซล เหมือนกล้องคอมแพคดิจิตอลทั่วๆไป


Nikon ก็สร้างความแปลกใหม่ด้วยการเปิดตัวกล้อง Coolpix 100 เซ็นเซอร์ 1/3 นิ้ว ใช้ CCD ที่ให้ขนาดภาพ 512 x 480 พิกเซล เลนส์ 52 มม. หลังจากถ่ายภาพแล้วนำกล้องไปเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ทางช่อง PCMCIA เพื่อโหลดภาพได้ทันที และมีรุ่น Coolpix 300 ควมละเอียด 3 แสนพิกเซล มีจอมอนิเตอร์ทางด้านหลัง



ในปีเดียวกันนี้ Olympus ได้เปิดตัวกล้องดิจิตอลรุ่น D - 200 L ใช้ CCD ความละเอียด 3 แสนพิกเซล และรุ่นอื่นๆอีกหลายรุ่น รวมทั้งรุ่น 800 L ที่มีความละเอียด 8 แสนพิกเซล ซึ่งชัตเตอร์ฯก็ได้นำมาทดสอบและตีพิมพ์เป็นบทความในปีนี้


ปี 1997 เป็นปีที่มีกล้องดิจิตอลจากผู้ผลิตนับสิบยี่ห้อ ทั้งจาก Nikon, Canon, Minolta, Olympus, Kodak, Fujifilm, Casio, Epson, Konica, Kyocera, Panasonic, Ricoh, Samsung, Sanyo, Sony, Sharp, Toshiba, Vivitar และอื่นๆอีกมากมาย กล้องส่วนใหญ่ให้ขนาดภาพ 640 x 480 พิกเซล มีเพียงบางรุ่นที่เกิน 1 ล้าน พิกเซล เช่น Olympus Camedia C-1400L ความละเอียด 1.4 ล้านพิกเซล ออกแบบรูปทรงเป็นตัวแอล (L) คล้ายกับกล้อง SLR Kodak DC210 ความละเอียด 1 ล้านพิกเซล จัดเก็บภาพด้วยการ์ด Fuji DS-300 ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล


ปี 1998 ในปีนี้กล้องดิจิตอลถูกผลิตขึ้นมากอีกกว่าหนึ่งเท่าตัว ส่วนใหญ่มีความละเอียด 1.2-1.5 ล้านพิกเซล โดยมีกล้องที่โดดเด่นคือดิจิตอล SLR ของโกดักรุ่น DCS 520 ใช้บอดี้ Canon ES1N ความละเอียด 2 ล้านพิกเซลจัดเก็บภาพด้วยฮาร์ดดิสก์ PCMCIA Type III 340 MB




ส่วนกล้องสำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็มีของ Canon Pro 70 เป็นกล้องแบบ SLR ที่มีรูปทรงสวยงามทันสมัย เลนส์ซูม 28-70 มม. มีฮอทชูเสียบแฟลชภายนอก ความละเอียด 1.5 ล้านพิกเซล






ทางด้านโซนี่ก็เปิดตัว Mavica FD-71 ที่จัดเก็บภาพด้วยแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ ถ่ายภาพเสร็จนำแผ่นไปเปิดดูที่คอมพิวเตอร์ได้ทันที ความละเอียด 3 แสนพิกเซล และรุ่น FD-91 ความละเอียด 7 ล้านพิกเซล
ปี 1999 ตลาดกล้องดิจิตอลเติบโตขึ้นมาก ในแต่ละเดือนมีกล้อง
รุ่นใหม่ๆหลายสิบรุ่น ส่วนใหญ่มีความละเอียดที่ 2 ล้านพิกเซลเพียงพอกับการนำไปอัดขยายภาพขนาด 4 x 6 นิ้ว ให้คุณภาพดีพอสมควร แม้ว่าจะยังห่างไกลกับการใช้ฟิล์ม แต่ก็พอยอมรับได้ และ Olympus ก็เปิดตัวกล้องตระกูล C เป็นครั้งแรกในรุ่น C-2020


Minolta เปิดตัวกล้องดิจิตอล SLR ใช้เลนส์จากกล้อง APS ได้รุ่น RD3000 ความละเอียด 2.7 ล้านพิกเซล Canon ก็มีกล้องคอมแพคขนาดเล็กรูปทรงสวยงามมากในชื่อรุ่น Powershot S10 ความละเอียด 2.1 ล้านพิกเซล ค่าย Sony เปิดตัว DSC-F505 กล้องรูปทรงตัวแอล (L) บอดี้กับเลนส์ปรับพลิกหมุนได้ เรียกความสนใจได้มากทีเดียว และเน้นการจัดเก็บภาพด้วยการ์ดที่พัฒนาขึ้นมาเองเรียกว่า Memory Stick


ส่วน Nikon ก็เปิดตัวกล้องดิจิตอล SLR ระดับมืออาชีพที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างน่าทึ่งรุ่น D1 ความละเอียด 2.7 ล้านพิกเซล ใช้พื้นฐานมาจากกล้องฟิล์มระดับโปรรุ่น F100 และ F5 ใช้ได้กับเลนส์ แฟลชและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักถ่ายภาพมืออาชีพทั่วโลก ซึ่งนิตยสารชัตเตอร์ฯก็ได้เลือกกล้องรุ่นนี้มาใช้งานในปลายปี 1999 และทดสอบตีพิมพ์ในนิตยสารชัตเตอร์ฯในเวลาต่อมา


ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน กล้องดิจิตอลมีการพัฒนาอย่างมาก ในแต่ละปีมีกล้องรุ่นใหม่ๆ จากหลายสิบยี่ห้อนับร้อยรุ่น ตั้งแต่กล้องคอมแพคตัวเล็กๆ จนถึงกล้องรุ่นใหญ่สำหรับมืออาชีพ ความละเอียดเพิ่มมากขึ้นจาก 2, 3, 4 เป็น 5 ล้านพิกเซล กล้องคอมแพคบางรุ่นในวันนี้เช่น Sony DSC-F828 มีความละเอียดสูงถึง 8 ล้านพิกเซล ส่วนดิจิตอล SLR ก็ขึ้นไปถึง 14 ล้านพิกเซลใน Kodak DSC-Pro14n

กล้องรูปทรงแปลกๆ ใหม่ๆ ถูกผลิตออกมามากมาย บางรุ่นบางเฉียบเหมือนบัตรเครดิต บางรุ่นหน้าตาแทบไม่ต่างกับกล้องใช้ฟิล์ม แต่ที่น่าสนใจมากคือในขณะท่ีคุณภาพดีมากขึ้น ราคากลับลดลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกล้องดิจิตอล SLR ระดับ 6 ล้านพิกเซล จากราคานับล้านบาทเมื่อสี่ปีก่อน เหลือไม่ถึงห้าหมื่นบาทในปีนี้ รวมไปถึงอุปกรณ์ทีเกี่ยวข้องเช่น การ์ด CF 128 MB ที่มีราคาประมาณ 20,000 บาท ในปี 2000 ถึงปีนี้ลดเหลือเพียงพันกว่าบาทเท่านั้น ส่งผลให้ตลาดกล้องดิจิตอลมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเดิมในปี 1996 มียอดขายกล้องดิจิตอลทั่วโลก ประมาณ 1 ล้านตัว แต่ในปี 2002 ที่ผ่านมา มียอดขายมากกว่า 30 ล้านตัว ส่วนในเมืองไทยของเราก็มียอดขายนับแสนตัวและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

##======================##======================##======================##
##[ประวัติ กล้องดิจิตอล ตอน1]##[ ประวัติ กล้องดิจิตอล ตอน2]##[ประวัติ กล้องดิจิตอล ตอน3]##
##======================##======================##======================##