Custom Search
##=================================================================## ##=================================================================##

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Sony NEX 5

Sony NEX 5

Sony NEX 5
ข้อมูล Sony NEX 5 โดยสรุป

กล้องดิจิตอล ความละเอียด 14.2 LCD ขนาด 3 นิ้ว ถ่าย พาโนรามาในแบบ 3 มิติ AVCHD ความละเอียด HD 1080/60i สามารถเปลี่ยนเลนส์ตัวกล้องดิจิตอลได้
เปิดตัว ไม่มีข้อมูล

ราคาศูนย์ 24,990 บาท


ข้อมูลรายละเอียดของกล้อง Sony NEX 5
หน่วยประมวลผล
เซนเซอร์รับภาพ
CMOS 23.4 x 15.6 mm (3.65 cm)
ความละเอียดใช้งาน
14.2 ล้านพิกเซล
ความละเอียดเซนเซอร์
14.6 ล้านพิกเซล
โปรเซสเซอร์
Sony
เลนส์
ความยาวโฟกัส
มาพร้อมกับเลนส์ SEL18 - 55 หรือ SEL16F28 มม.
รูรับแสง
มาพร้อมกับเลนส์ SEL18 - 55 หรือ SEL16F28
ออพติคอลซูม
ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้
ดิจิตอลซูม
ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้
ชัตเตอร์
ความเร็วชัตเตอร์
30 - 1 / 4000 วินาที
ถ่ายภาพต่อเนื่อง
มี , 5 or 7 fps
การโฟกัส
ชนิดโฟกัส
Contrast Detection
มาโคร
ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้
ระบบเกี่ยวกับแสง
ระบบวัดแสง
Multi (49 segment), Center, Spot
ระบบชดเชยแสง
-2 to +2 EV in 1/3 EV steps
ความไวแสง (ISO)
Auto, 200, 400, 800, 1600, 3200, 6400, 12800
สมดุลแสงสีขาว (WB)
6 ตำแหน่งพร้อมปรับด้วยมือ และ Kelvin
ช่องมองภาพและ LCD
ช่องมองภาพ

ขนาดจอ LCD
3 นิ้ว
ความละเอียดจอ
920,000 จุด
การปรับตำแหน่งจอ
ได้
แฟลช
ระบบแฟลช
Auto, On, Off, Red-Eye, Slow Sync, Rear Curtain, Fill-in
ระยะแฟลช
12 m
แฟลชภายนอก

ภาพเคลื่อนไหว
ภาพเคลื่อนไหว
AVCHD ความละเอียด HD 1080/60i
ระยะเวลาบันทึกภาพเคลื่อนไหว
ไม่มีข้อมูล
หน่วยความจำ
หน่วยความจำภายใน

หน่วยความจำที่ใช้
SD/ SDHC/SDXC, Memory Stick Pro Duo/ Pro-HG Duo
ไฟล์และการเชื่อมต่อ
ไฟล์ภาพนิ่ง
มี , RAW
ไฟล์ภาพเคลื่อนไหว
มี , 1280 x 720 (HD), 640 x 480
เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
USB 2.0 (480Mbit/sec)
เชื่อมต่อทีวี
AV
อื่นๆ
ชนิดแบตเตอรี่
Lithium-Ion NP-FW50
กว้าง สูง ลึก
117 x 62 x 33 มม.
น้ำหนักตัวกล้อง
297 กรัม
เมนูภาษาไทย
มี
อื่นๆ
AVCHD ความละเอียด HD 1080/60i , พาโนรามาในแบบ 3 มิติ

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10 เทคนิคการถ่ายภาพภูเขา

ไปอ่านเจอบทความน่าสนใจ กับเทคนิคการถ่ายภาพภูเขา คิดว่าคงมีประโยชน์ โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบการถ่ายภาพวิวนะครับ.....

เทคนิคการถ่ายภาพภูเขา
1. วางแผนและค้นคว้า
ก่อนออกเดินทาง ช่างภาพควรใช้เวลาสักนิดในการค้นคว้าหาข้อมูล ทำความรู้จักกับที่ๆ จะไปให้ดีเสียก่อน เพื่อเป็นการวาง แผนการเดินทางให้คุ้มค่าและใช้เวลาได้อย่างเกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น พระอาทิตย์ขึ้นและตกในตำแหน่งใด ช่างภาพจะได้อยู่ถูกที่ถูกเวลาและรู้ทิศ ทางของแสง ว่าช่วงเช้า ช่วงบ่าย และช่วงเย็นจะไปถ่ายภาพในตำแหน่งใด ก่อนหรือหลัง ถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นหรือตกยังจุดใด ซึ่งจะทำให้ช่างภาพสามารถวางแผนใช้ช่วงเวลาของแสงได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้ง วัน รวมทั้งฤดูกาลที่เหมาะสมเช่น ฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูหนาว

2. ใช้ผลจากการถ่ายภาพระยะไกลด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์หรือภูเขาไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์มุมกว้างเสมอไป เลนส์เทเลโฟโต้ก็สามารถนำมาถ่ายภาพวิวได้เช่นกัน แถมยังให้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไป ช่างภาพอาจใช้เลนส์เทเลโฟโต้ในการถ่ายภาพเพื่อเน้นเฉพาะส่วนที่น่าสนใจซึ่ง จะส่งผลต่อความรู้สึกและมีพลังในภาพมากยิ่งขึ้น การใช้รูรับแสงถ้าต้องการให้วัตถุภายในภาพชัดเจนทุกส่วนก็ควรใช้รูรับแสงแคบ เช่น F22 หรือ F32 แต่ปัญหาที่ตามมาคือความเร็วชัตเตอร์ต่ำต้องใช้ขาตั้งกล้องที่มั่นคงแข็งแรง และใช้ร่วมกับสายลั่นชัตเตอร์ทุกครั้ง หากไม่มีก็ใช้ระบบตั้งเวลาถ่ายภาพอัตโนมัติก็ได้

3. มองหาการสะท้อน ช่างถ่ายภาพภูเขามืออาชีพมักขวนขวายและเสาะหาบางสิ่งบางอย่างที่เหนือกว่า และน่าสนใจเพิ่มเติมลงในภาพ เพื่อให้ได้ผลงานที่แตกต่างไปจากภาพผลงานแบบเก่าๆ ภูเขาลูกเดียวกันแต่อาจเปลี่ยนมุมมองด้วยการส่งภูเขาลงสู่ทะเลสาบหรือหนอง น้ำที่กว้างใหญ่ ทำให้เกิดเป็นภาพสะท้อนขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ภาพถ่ายมีความน่าสนใจและเพิ่มเรื่องราวให้กับภาพได้เป็นอย่าง ดี

4. สร้างภาพให้มีมิติ ช่างภาพควรมองหาส่วนประกอบสำคัญที่สามารถเติมเต็มพื้นที่ในภาพนอกเหนือจาก ตัวภูเขาอันจะส่งผลทำให้เกิดความ ต้องตาต้องใจมากยิ่งขึ้น เช่น การหาวัตถุที่น่าสนใจรวมเข้าเป็นฉากหน้า อาจจะเป็นเงาดำของต้นไม้ใหญ่ ทุ่งดอกไม้ น้ำตก หรือแม้แต่บรรยากาศในตัวมันเองเป็นต้น ทำให้เกิดมิติที่แตกต่างกันในส่วนที่อยู่ใกล้และฉากหลังที่อยู่ไกลออกไป ภาพในลักษณะนี้ภูเขาอาจเป็นส่วนสำคัญรองลงไปกว่าฉากหน้าก็ได้ เพราะอย่างไรเสียภูเขาก็ยังคงเป็นบรรยากาศที่น่าสนใจในภาพอยู่ดี


5. มองจากมุมที่สูงกว่า เป็นเรื่องง่ายและเบสิคมาก สำหรับการถ่ายภาพภูเขาจากระดับพื้นดิน สิ่งที่จะทำให้ภาพเร้าอารมณ์มากขึ้นคือ การขึ้นไต่ขึ้นไปสู่ที่สูงแล้วบันทึกโลกจากมุมมองที่เหนือกว่า นำเสนออีกทิศทางหนึ่งของภูเขาที่แตกต่างออกไป ช่างภาพต้องใช้ความพยายามมากสักหน่อยกว่าจะได้มุมมองดังกล่าว อาจต้องเดินทางขึ้นเขากันเป็นวันๆ แต่รับรองว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่จะได้กลับมาอย่างแน่นอน ทั้งภาพถ่ายและความรู้สึก ช่างภาพอาจเพิ่มเรื่องราวในขณะเดินทางไต่เขาก็จะยิ่งเติมเต็มเนื้อหาให้กับ ภาพถ่ายภูเขามากยิ่งขึ้น

6. วางตำแหน่งโพลาไรซ์ให้ถูกทิศถูกทาง ช่างภาพส่วนใหญ่มักจะใช้ฟิลเตอร์ โพลาไรซ์เพื่อขับสีสันของท้องฟ้าให้เข้มข้นขึ้นในการถ่ายภาพวิว แต่การจะได้ภาพเป็นที่น่าสนใจไม่ได้จบแค่การใส่ฟิลเตอร์โพลาไรซ์แล้วถ่ายภาพ วิวเท่านั้น ช่างภาพต้องเรียนรู้มุมสะท้อนของแสงอาทิตย์อันจะส่งผลให้ใช้ประโยชน์จากมุม โพลาไรซ์ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และยังสามารถวางตำแหน่งของภูเขาในภาพได้อย่างถูกต้อง โดยมุมที่ตั้งฉากกับดวงอาทิตย์จะเกิดผลในการใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้มากที่สุด การใช้งานให้ปรับมุมฟิลเตอร์พร้อมกับสังเกตความเปลี่ยนแปลงจากช่องมองภาพโดย เลือกเอาตำแหน่งการปรับฟิลเตอร์ที่เห็นว่าได้ภาพดีที่สุด

7. หมอกและแสงหลัง สิ่งอันเป็นความปรารถณาของผู้รักการถ่ายภาพหุบเขาทั้งหลายคงหนีไม่พ้นทะเล หมอก ที่ช่างภาพ ต้องขนอุปกรณ์เป็นระยะทางไกลขึ้นสู่ไหล่เขาสูงจนได้ระดับ แต่นั่นก็คุ้มค่าเพราะช่างภาพสามารถใช้ความลี้ลับของทะเล หมอกทำให้ภูเขามีความลึกลับน่าค้นหาได้เป็นอย่างดี ยิ่งยามใดที่ปรากฏทะเลหมอกขึ้นยังบริเวณหุบเขาและมีแสงส่องเข้ามาทางหลัง จะส่งผลให้ภาพหุบเขาเกิดเป็นเงาดำทึบตัดกับผืนหมอกที่กำลังสะท้อนแสงแลดูสวย งามจับใจ

8. รวมคนเข้าไปในภาพ การแสดงสัดส่วนและขนาดเป็นสิ่งสำคัญในภาพถ่ายแทบทุกประเภท ในการถ่ายภาพภูเขาบางครั้งอาจใช้ต้นไม้ หรือก้อนหินเป็นส่วนประกอบ แต่ในบางโอกาสช่างภาพก็ไม่สามารถที่จะหาบางสิ่งบางอย่างมาใช้ทดแทนเพื่อบอก ขนาดอันใหญ่โตของภูเขาและทิวทัศน์ที่กว้างไกลได้เลย การรวมคนเข้าไปในภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญในยามที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเช่น นี้ แถมยังเพิ่มความน่าสนให้กับภาพรวมทั้งบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางได้อีกด้วย

9. มองหาและเข้าใกล้ เพื่อที่จะช่วยสร้างความรู้สึกชัดลึกให้เกิดขึ้นในภาพวิวทิวทัศน์ ช่างภาพควรมองหาวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้วางเคียงคู่ประกอบกับภูเขาเข้าในภาพ อาจเป็นดอกไม้ น้ำตก หรือก้อนหินในบริเวณนั้นก็ได้ เพื่อที่จะเพิ่มจุดสนใจและสร้างความแตกต่างของสัดส่วนให้เกิดขึ้นกับภูเขา ช่วยเน้นให้เห็นระยะทาง และเป็นการเร้าอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดขึ้นต่อภาพภูเขาได้ดีอีกลักษณะหนึ่ง เช่นกัน แต่ต้องระมัด ระวังเรื่องระยะชัดลึกของภาพให้ดี หากมีสิ่งที่อยู่ใกล้กล้องมากๆ ต้องใช้รูรับแสงแคบเพื่อให้ได้ภาพที่มีระยะชัดลึกสม่ำเสมอทั่วทั้งภาพ

10. ตื่นแต่เช้าตรู่ แสงในช่วงบ่ายต้องถือเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ส่องแสงดั่งต้องมนต์มายา เพราะเป็นช่วงที่ให้แสงอบอุ่น ซึ่งช่างภาพนำมาใช้ประโยชน์ในการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีแสงอีกช่วงหนึ่งที่ทรงคุณค่าไม่แพ้กันนั่นก็คือแสงพระอาทิตย์ในช่วง เช้าตรู่ ด้วยสีฟ้าบริเวณชั้นบรรยากาศอันห่างไกล และแสงสีชมพูบนท้องฟ้า เมื่อสองสีรวมเข้าด้วยกันประกอบกับภูเขาเบื้องล่าง ทำให้ภาพที่ออกมากลายเป็นภาพภูเขาที่งดงาม ให้ความรู้สึกบางเบาและสงบเงียบ ช่างภาพภูเขาจึงควรใช้ช่วงเวลานี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ปล่อยให้สูญเปล่ากับการพักผ่อนหลับนอน


ขอบคุณบทความดีๆจาก http://jphotostyle.com

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

IS [Image Stabilizer ]

เทคโนโลยี Image Stabilizer ในกล้องถ่ายภาพ
..................

ปัญหาที่ทำให้ภาพเสียหรือถ่ายภาพแล้วไม่ ได้ภาพที่ต้องการนั้นมีอยู่ 4 กรณีใหญ่ๆ คือ การโฟกัสไม่ชัด การใส่ฟิล์มไม่เข้า การเปิดรับแสงไม่ถูกต้อง และกล้องสั่น ปัญหาสามประการแรกสามารถแก้ไขได้ด้วยระบบอัตโนมัติหลายประการที่ใส่เข้าไปใน กล้องรุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการโหลดฟิล์มอัตโนมัติ การโฟกัสอัตโนมัติ และการวัดแสงอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้ได้ภาพที่ดี ลดอัตราการสูญเสียภาพไปได้มาก

อย่างไรก็ดีปัญหาเรื่องกล้องสั่นซึ่งผู้ผลิตกล้องได้แก้ไขด้วยการใส่แฟลชไป ในกล้อง และให้เปิดทำงานอัตโนมัติเมื่อมีแสงน้อยเพื่อให้สามารถถ่ายภาพ ที่ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น แม้ว่าระบบดังกล่าวจะลดปัญหากล้องสั่นไปได้ในการถ่ายภาพทั่วๆ ไป แต่ในกรณีการถ่ายภาพกีฬาหรือถ่ายภาพสัตว์ป่า ที่ต้องใช้เลนส์ความยาวโฟกัสมากๆ กำลังของแสงแฟลชไม่พอ และมีบ่อยครั้งที่ช่างภาพต้องการถ่ายภาพด้วยแสงในธรรมชาติ ไม่ต้องการแสงแฟลช ดังนั้นเมื่อสภาพแสงไม่อำนวย การใช้ขาตั้งกล้องจึงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่ช่างภาพก็จะสูญเสียความ คล่องตัวในการถ่ายภาพไป เมื่อช่างภาพต้องการใช้มือถือแทนที่จะติดกล้องไว้กับขาตั้งกล้อง ทางผู้ผลิตกล้องได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาภาพเบลอเพราะการถ่ายภาพ เนื่องมาจากการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่า 1/ความยาวโฟกัส โดยในปี 1995 แคนนอนได้ผลิตเลนส์ที่ใช้ระบบชดเชยการสั่นขณะถ่ายภาพเป็นตัวแรก ซึ่งก็คือเลนส์ 75-300 F/4.5-5.6 IS USM โดยเรียกระบบป้องกันภาพไหวนี้ว่า image stabilizer (IS)

*********


ภาพที่ 1 ก) เลนส์ทั่วไปที่ไม่มีระบบ IS เมื่อกล้องสั่น ลำแสงจากจุดๆ หนึ่งจะตกลงบนฟิล์มที่ตำแหน่งต่างกัน มีผลทำให้ภาพเบลอ ข) เลนส์ที่มีระบบ IS เมื่อกล้องสั่นในขณะถ่ายภาพ เซนเซอร์จะจับทิศทางการสั่นและส่งสัญญาณให้คอมพิวเตอร์ซึ่งจะควบคุมให้ชิ้น แก้วบางชิ้นขยับ ในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของชุดเลนส์ เพื่อทำให้แสงจากจุดๆ เดียวนั้น ตกกระทบบนฟิล์ม ณ ตำแหน่งเดียวกันตลอดเวลา

ต่อมาแคนนอนก็ได้ใช้ระบบนี้กับ เลนส์ถ่ายไกลที่ระยะอื่นๆ ของตนเอง ซึ่งได้แก่ EF 300mm f/2.8L IS USM, EF 400mm f/2.8L IS USM, EF 500mm f/4L IS USM, และ EF 600mm f/4L IS USM นอกจากเลนส์ของกล้องถ่ายภาพขนาด 35 มม. แล้ว แคนนอนยังนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับกล้องวีดีโอและกล้องสองตาด้วย


ภาพที่ 2 ตัวอย่งเลนส์ของแคนนอนที่มีระบบ IS

บริษัทนิคอนได้ผลิตเลนส์ด้วย เทคโนโลยีเดียวกัน ในปี 2002 โดยนำมาใช้กับเลนส์ 80 - 400 VR ซึ่งคำว่าวีอาร์ (VR) นี้เป็นคำย่อของ vibration reduction และมีเลนส์ที่ใช้ระบบกันการสั่นอีกหลายตัวตามมาเช่น 70-200 f/2.8 AF-S VR lens ในปี 2003


ภาพที่ 3 ตัวอย่างเลนส์ของนิคอนที่มี ระบบ VR