เรามาดูที่มาของการวัดแสงของกล้องดิจิตอล ( Digital Camera )ก่อนการถ่ายภาพกันเลยครับ
ก่อนอื่นมารู้จักกับ "สีเทา 18%" ก่อนเลยนะครับ "สีเทา 18%" ก็คือค่าของสีเทา ที่อยู่ตรงกลางระหว่าง ขาวกับดำ จะเรียกกันในภาษาของนักถ่ายภาพว่า "สีเทากลาง" ก็คือ ค่าสีมาตรฐานที่กล้องดิจิตอล ( Digital Camera )ทุกๆ ตัว ใช้เป็นค่าในการวัดแสงกระทบจากวัตถุต่างๆ ที่เราเล็งจุดวัดแสงไปยังสิ่งที่ต้องการ
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเรา มาลองของจริงกันเลยนะครับ ถ้าอยากเข้าใจจริงๆ ต้องลองทำตามนะครับ หยิบกล้องขึ้นมาปรับโหมดการถ่ายภาพไปที่ "P" และปรับระบบวัดแสงเป็นระบบ "เฉพาะจุด" ถ้าไม่รู้ว่าการวัดแสงแบบเฉพาะจุดอยู่ตรงไหน ในกล้องดิจิตอล ( Digital Camera ) มีระบบนี้หรือไม่ ให้เปิดคู่มือดูนะครับ มีแน่นอน
ต่อจาก นั้นก็ลองหาวัตถุสีขาว เช่นกระดาษขาว หรือผนังสีขาว แล้วยกกล้องถ่ายภาพเล็งไปยังวัตถุ โดยให้วัตถุนั้น เต็มเฟรมที่ต้องการถ่ายภาพ แล้วกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงก่อน เพื่อทำการวัดแสง
โดยยังไม่ต้องสนใจอะไรทั้งสิ้นจากนั้นก็กดชัตเตอร์ลงไปเลยเราก็จะได้ภาพสีเทาๆ มาหนึ่งภาพดังรูปตัวอย่าง
ดูรูปภาพประกอบนะครับ

..........ต่อไป เราหาวัตถุสีดำๆ หรือกระเป๋ากล้องดิจิตอล ( Digital Camera ) ก็ได้ครับ(ส่วนใหญ่จะสีดำ) ทำเหมือนครั้งแรก คือโหมด "P" และ "เฉพาะจุด" กดครึ่งนึงเพื่อวัดแสง และกดถ่ายภาพ เราก็จะได้วัตถุสีเทาๆ มาอีกภาพหนึ่งดังรูปตัวอย่าง
สองภาพนี้ ด้านซ้าย เป็นวัตถุที่ต้องการถ่าย ตรงกลางคือสีเทากลางที่กล้องคำนวน ภาพขวาคือภาพที่กล้องคำนวนแสง และถ่ายทอดออกมานะครับ
ภาพประกอบ

ที่ เราได้รูปสีเทาๆ มาดังตัวอย่างทั้งสองภาพข้างต้นนี้ ก็เพราะว่า ระบบวัดแสงของกล้องดิจิตอล ( Digital Camera ) ไม่ว่าจะให้มองอะไร ก็จะมองเห็นเป็นสีเทา และถ่ายภาพสีเทาที่กล้องมองเห็นมาให้เราดูกันเป็นขวัญตาหละครับ
ก่อนจะถึงขั้นต่อไป มีคำถามครับจากตัวอย่างข้างต้น
1.ถ้าต้องการถ่ายภาพวัตถุสีขาว ให้ขาวเหมือนจริง คิดว่าจะต้องทำอย่างไร?
2.ถ่าต้องการถ่ายภาพให้วัตถุสีดำ ให้ดำเหมือนจริง คิดว่าจะต้องทำอย่างไร?
ก่อนที่จะบอกกัน ผมจะเล่าอะไรนิดนึง นานมาแล้วมีกระทาชายนายหนึ่ง ชื่อว่า Ansel Adams ได้ค้นพบว่า จากส่วนที่ดำที่สุดถึงส่วนที่ขาวที่สุด สามารถแบ่งออกได้เป็นสิบเอ็ดส่วน เค้าเรียกสิบเอ็ดส่วนนี้ว่า "โซน" โดยเริ่มนับจาก 0 ไปถึง 10 ไล่จากดำสุด ไปหาขาวสุด แล้วเค้ายังค้นพบอีกว่า จุดที่ดำที่สุดที่ถ่ายภาพออกมาแล้วเราเห็นรายละเอียดในส่วนดำนั้นได้ คือ "โซน 2-3" และ จุดที่ขาวที่สุดที่ถ่ายภาพออกมาแล้วเรายังพอเห็นรายละเอียดได้พอลางๆ นั้น อยู่ที่ "โซน 7-8" แล้วมันสำคัญอย่างไร? สำคัญตรงที่ว่า จุดที่อยู่ตรงกลางคือ "โซน 5" ก็คือค่า "สีเทากลาง" มันก็คือค่า "สีเทา18%" ที่กล้องของเราๆ ท่านๆ ใช้กำหนดในการวัดแสงดังตัวอย่างข้างต้นนั้นแหละ และโซนต่างๆ ที่เค้าแบ่งไว้ก็ไม่นึกอยากจะแบ่งก็แบ่งเล่นๆ แต่เป็นการแบ่งมาจากการทดลอง และทดสอบต่างๆ นานา มาจนแต่ละโซนนั้น ก็คือ "1 สต๊อป" ของการปรับแสงของกล้องนั่นเอง "1โซน ก็เท่ากับ 1สต๊อป
ดูรูปภาพประกอบนะครับ

การ ปรับ "สต๊อป" กล้องดิจิตอล ( Digital Camera ) ให้ไปทางดำ หรือ ทางขาว ก็ทำได้โดยการปรับ "สปีดชัตเตอร์" หรือ "รูรับแสง" ส่วนที่ว่า สปีดชัตเตอร์ กับ รูรับแสง นั้นเป็นอย่างไร ก็คงพอทราบกันอยู่แล้ว หรือไม่ทราบก็หาอ่านจากคู่มือกล้องของท่านเองก็จะมีบอกไว้ คราวนี้ก็มาถึงว่า แล้วค่าสปีดชัตเตอร์กับรูปรับแสงเท่าไหร่หละ? ที่จะเรียกได้ว่า "1สต๊อป"
ดูรูปภาพประกอบนะครับ

สปี ดชัตเตอร์ : 30" - 15" - 8" - 4" - 2" - 1" - 2 - 4 - 8 - 15 - 30 - 60 - 125 - 250 - 500 - 1000 - 2000 - 4000 (" = วินาที) จากช้าไปหาเร็ว ช้าสุดก็จะรับแสงได้มากกว่าเร็วสุด ลองปรับโหมดถ่ายภาพเป็น "M" แล้วปรับค่าสปีดชัตเตอร์ของกล้องดิจิตอล ( Digital Camera ) ดูนะครับ ถ้ามีค่าแทรกระหว่างตัวเลขตัวอย่าง ก็เป็นค่าเศษส่วนของ "1 สต๊อป" เช่น จาก 60 - "90" - 125 ก็จะเป็น "1/2 สต๊อป(โซน)" หรือ 60 - "80" - "100" - 125 ก็จะเป็น "1/3 สต๊อป(โซน)"
ดูรูปภาพประกอบนะครับ

รู รับแสง : 1.4 - 2 - 2.8 - 4 - 5.6 - 8 - 11 - 16 - 22 - 32 - 45 - 90 จากกว้างสุดไปหาแคบสุด กว้างสุดก็รับแสงได้มากกว่า แคบสุด ก็ลองปรับดูเช่นกันครับ ถ้ามีค่าระหว่างนั้น ก็เป็นค่า "1/2 สต๊อป(โซน)" และ "1/3 สต๊อป(โซน)" เช่นกัน
ดูรูปภาพประกอบนะครับ

ทั้ง สปีดชัตเตอร์ และรูรับแสง การปรับสต๊อปขึ้น หรือลง มีผลทำให้แสงเดินทางเข้าสู่ ฟีล์ม หรือ CCD มากน้อยตามไปด้วย สปีดชัตเตอร์ที่เร็วกว่า แสงก็จะเข้าน้อยกว่า สปีดชัตเตอร์ที่ช้ากว่า (เปิดนานกว่า) รูรับแสงที่กว้างกว่า ก็จะรับแสงได้มากกว่า รูรับแสงที่น้อยกว่า ที่เล่ามาตั้งยาวนี้ เพียงเพื่อว่าเวลาพูดถึง ลบ หรือ บวก สต๊อป แล้วจะได้เข้าใจและทำได้ด้วยความเข้าใจไม่ใช่ความจำ เช่น
ถ้า พูดว่า "ลบ 1 สต๊อป" ก็หมายถึงว่า ทำภาพให้มืดลง 1 สต๊อป หรือ 1 โซน โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง จะเป็นปรับรูรับแสง หรือปรับสปีดชัตเตอร์ก็ได้ และถ้าพูดว่า "บวก 1 สต๊อป" ก็เช่นเดียวกัน
ในปัจจุบัน กล้องระบบอีเลคทรอนิค ไดัคิดค้นและพัฒนาในการปรับค่าแสงได้ง่ายขึ้น โดยการเลื่อนบาร์ ไปตามระดับสต๊อป ที่เราต้องการ โดยไม่ต้องไปปรับ รูรับแสงและสปีดชัตเตอร์แต่อย่างใด
เมื่อ ท่านสังเกตุ สเกลในช่องมองภาพ หรือที่จอแอลซีดี จะพบว่า เป็นมาตรฐานเลยนะครับ ที่สเกลวัดแสง จะมี -2 และ -1 นั่นคือแสงอันเดอร์, 0 คือ ค่าพอดีหรือเทากลาง ต่อมาคือ 2 และ 1 หรือ +2, +1 ซึ่งเท่ากับการชดเชยแสงให้โอเวอร์ และนี่คือหลักการง่ายๆ และที่มาของการวัดแสงให้มีค่าพอดีครับ
ดูรูปภาพประกอบนะครับ 
กล้อง จะทำงานให้โดยอัตโนมัติ ทำให้เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการถ่ายภาพมากขึ้น บาร์ปรับระดับสต๊อปนี้(ชื่อนี้ผมตั้งเองนะ ไม่ได้อ้างอิงจากตำราใดๆ) จะเป็นประโยชน์มากเมื่อต้องการถ่ายภาพแบบฉับไว ปัจจุบันทันด่วน ใช้ได้ดีกับการถ่ายภาพในโหมด "AV"(เรากำหนดรูรับแสง กล้องจะช่วยหาความไวชัตเตอร์ที่เหมาะสม), "TV"(เรากำหนดความไวชัตเตอร์ กล้องจะช่วยหารูรับแสงที่เหมาะสม) และ "P" (กล้องช่วยหาความไวชัตเตอร์ และรูรับแสงที่เหมาะสม) เป็นระบบของกล้องดิจิตอล ( Digital Camera )แคนนอน กล้องยี่ห้ออื่นก็ดูจากคู่มือก็แล้วกันนะครับ และเอาไว้เช็คค่าแสงเมื่อใช้ในโหมด M (เรากำหนด รูรับแสง และความไว้ชัตเตอร์ ที่ต้องการ) ส่วนระบบใด น่าจะเอาไปใช้อย่างไร จะขอแยกเรื่องออกไปพูดกันอีกต่างหาก ถ้ายังมีคนสนใจ จะมาเล่าให้ฟังกันอีกครับ

กล้อง จะทำงานให้โดยอัตโนมัติ ทำให้เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการถ่ายภาพมากขึ้น บาร์ปรับระดับสต๊อปนี้(ชื่อนี้ผมตั้งเองนะ ไม่ได้อ้างอิงจากตำราใดๆ) จะเป็นประโยชน์มากเมื่อต้องการถ่ายภาพแบบฉับไว ปัจจุบันทันด่วน ใช้ได้ดีกับการถ่ายภาพในโหมด "AV"(เรากำหนดรูรับแสง กล้องจะช่วยหาความไวชัตเตอร์ที่เหมาะสม), "TV"(เรากำหนดความไวชัตเตอร์ กล้องจะช่วยหารูรับแสงที่เหมาะสม) และ "P" (กล้องช่วยหาความไวชัตเตอร์ และรูรับแสงที่เหมาะสม) เป็นระบบของกล้องดิจิตอล ( Digital Camera )แคนนอน กล้องยี่ห้ออื่นก็ดูจากคู่มือก็แล้วกันนะครับ และเอาไว้เช็คค่าแสงเมื่อใช้ในโหมด M (เรากำหนด รูรับแสง และความไว้ชัตเตอร์ ที่ต้องการ) ส่วนระบบใด น่าจะเอาไปใช้อย่างไร จะขอแยกเรื่องออกไปพูดกันอีกต่างหาก ถ้ายังมีคนสนใจ จะมาเล่าให้ฟังกันอีกครับ
ดูรูปภาพประกอบนะครับ

ขอบคุณ บทความดีๆจาก
http://www.pantown.com/board.php?id=2125&a...amp;action=view