Custom Search
##=================================================================## ##=================================================================##

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการถ่ายภาพพลุ

เทคนิคการถ่ายภาพพลุนั้น ไม่ว่าใช้กล้องอะไรก็เหมือนๆ กัน จะมีที่ต่างกันบ้างก็เพียงลักษณะการทำงานของตัวกล้องเอง กล้องดิจิทัลจะมีข้อจำกัดมากกว่ากล้องที่ใช้ฟิล์มในบางประการ อันได้แก่ ตัวเลขเอฟที่แคบที่สุดจะน้อยกว่า เช่นอาจมีแค่ f/8 หรือ f/11 เท่านั้นขณะที่กล้องใช้ฟิล์มส่วนใหญ่จะอยู่ที่ f/16 หรือ f/22 อีกประการหนึ่งคือกล้องดิจิทัลระดับคอนซูมเมอร์ (consumer) หรือ โปร



ซูมเมอร์(prosumer)ส่วนใหญ่มักจะไม่มีความเร็วชัตเตอร์ B มาให้ ดังนั้นการถ่ายภาพพลุให้ได้ดีค่อนข้างยากกว่าพอสมควร

หลักการถ่ายภาพพลุ

การ ถ่ายภาพพลุก็มีหลักเหมือนการถ่ายภาพทั่วไปคือ ตัวรับแสงควรได้รับแสงในปริมาณที่พอเพียง แต่เนื่องจากพลุมักจุดในเวลาค่ำคืนดังนั้น ความเร็วชัตเตอร์จึงมีความสำคัญน้อยมาก สิ่งที่ควบคุมความสว่างหรือมืดของภาพอยู่ที่เอฟนัมเบอร์เป็นหลัก ระยะเวลาในการเปิดปิดชัตเตอร์นั้นมีผลต่อจำนวนพลุที่จะปรากฏในภาพ หากใช้เวลาน้อยๆ ก็ได้จำนวนน้อย หากใช้เวลานานก็ได้จำนวนมาก อย่างไรก็ดีถ้านานเกินไป ภาพพลุก็จะซ้อนกันจนเกิดเป็นภาพ over ได้ และเนื่องจากต้องถ่ายภาพในเวลากลางคืนขาตั้งกล้องมีความสำคัญเป็นอย่างมาก กล้องควรยึดอยู่บนขาตั้งกล้องที่มีความแข็งแรงเพียงพอ

การเลือกเอฟนัมเบอร์

เอฟนัมเบอร์ที่เหมาะสมขึ้นกับปัจจัยหลายประการคือ

1. ความสว่างของพลุ พลุแต่ละลูกมีความสว่างแตกต่างกัน พลุที่สว่างมากก็ต้องเปิดหน้ากล้องให้แคบกว่าพลุที่สว่างน้อย อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติจริงเป็นไปได้น้อยมาก เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าพลุลูกไหนจะสว่างมากหรือน้อย ทั้งนี้เราไม่ต้องกังวลมากนักกับความสว่างของพลุที่ต่างกัน เพราะพลุเป็นแต่แสงสี ที่เคลื่อนที่ ไม่มีโทน(tone) ไม่มีรายละเอียด ดังนั้นเพียงแต่เลือกเอฟนัมเบอร์ที่พอบันทึกภาพให้เห็นสีที่ไม่มืดหรือสว่าง จนเป็นสีขาวก็ถือว่าเป็นภาพที่ดีแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง f8-f16

2. ความไวแสงของ CCD หรือ ISO speed หากเราตั้งความไวแสงของกล้องให้มีค่ามากเช่น 200 หรือ 400 ก็จะทำให้ต้องใช้หน้ากล้องแคบลง แต่เนื่องจากจะมี noise เกิดขึ้นบนภาพ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงความไวแสงสูงๆ และควรตั้งค่าต่ำที่สุดที่กล้องมีให้ เช่นที่ 100 หรือ 50 เป็นต้น

3 ระยะทาง หากกล้องอยู่ห่างจากพลุมาก ก็ควรเปิดหน้ากล้องให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ inverse square law หรือ กฏผกผันกำลังสอง กล่าวคือหากระยะทางจากแหล่งกำเนิดแสงอยู่ห่างไปจากเดิมหนึ่งเท่า ปริมาณแสงจะลดลงสองเท่า นั่นคือหากเราถ่ายภาพพลุด้วยระยะห่าง 100 เมตรด้วย f/11 แต่ถ้าอยู่ห่างออกไป สองร้อยเมตร ควรใช้ f/8 การเลือกชัตเตอร์สปีด ควรใช้ชัตเตอร์ B แต่ถ้ากล้องที่ใช้ไม่มีให้ก็ควรใช้ความเร็ว ประมาณ 2-8 วินาที ขึ้นกับว่า ช่วงเวลานั้นๆ พลุถูกจุดด้วยความถี่มากหรือน้อย


เทคนิคการถ่ายภาพ

สำหรับ กล้องที่มีชัตเตอร์ B ก็ควรพกกระดาษแข็งสีดำไปด้วย แล้วใช้เปิดปิดหน้ากล้องเพื่อเลือกบันทึกแสงจากพลุลูกใดลูกหนึ่งหรือหลายๆ ลูกไปในเฟรมเดียวกัน หากต้องการภาพพลุเพียงลูกใดลูกหนึ่ง ควรสังเกตจุดที่เป็นบริเวณที่วางพลุ หากเห็นแสงหรือควันไฟพุ่งออกมาแสดงว่า พลุได้ถูกจุดแล้ว ซึ่งเราต้องรีบดึงกระดาษดำออกเพื่อบันทึกภาพ พอหมดแสงพลุลูกนั้นก็ต้องรีบปิดกระดาษ หรือ ปิดชัตเตอร์ กรณีนี้ใช้ได้เฉพาะเมื่ออยู่ในทำเลที่ดีมากๆ และพลุไม่ถูกจุดพร้อมๆ กัน เท่านั้น

ภาพด้านล่่างนี้เป็นภาพที่ผมถ่ายงานแสดงพลุในประเทศ ญี่ปุ่น อันที่จริงแล้วภาพพลุอย่างเดียวเป็นภาพที่น่าสนใจน้อยกว่า ภาพพลุที่มีแสงจากอาคารบ้านเรือน ประกอบอยู่ในภาพด้วย ภาพแสงไฟจากตึกสวยๆ สะพานโค้ง และอื่นๆ จะทำให้ภาพดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วหลังพระอาทิตย์ตกดินไม่นานนัก ท้องฟ้ายังมีแสง สนธยาลางๆ ให้เห็นก็จะยิ่งสร้างบรรยากาศให้น่าดู น่าชม

ข้อมูลจาก : fotofile.net

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายของตัวย่อต่างๆในการดูเลนส์


ตัวย่อของ Canon

EF = Electro-Focus เป็นชื่อ เมาท์มาตรฐานของ เลนส์ Canon ใช้ได้กับกล้อง EOS ฟิลม์ และดิจิตอล ที่
เป็น Full Frame ทุกตัว
EF-S = EF with Short back focus สำหรับกล้องดิจิที่มีตัวคูณ ในระบบ EOS
IS = Image Stabilizer = ระบบกันสั่นเวลาถ่ายภาพ
USM = Ultra Sonic Motor มอเตอร์ focus ความเร็วสูงและเงียบ
FTM = Full time manual focus ในขณะใช้ mode auto focus ก็สามารถใช้ manual focus ได้ทันทีไม่ต้องไป
ปรับปุ่มเลย ส่วนใหญ่จะคู่กับระบบ USM ครับ
DO = Diffractive Optical คือ ชิ้นเลนส์พิเศษที่ทาง Canon พัฒนาขึ้นมามีลักษณะเป็นวง ๆ ซ้อน ๆ กัน
L = Luxury Grade = ชิ้นเลนส์คุณภาพสูงของ canon เลนส์ทำจาก UD glass (Ultra-low Dispersion)
รหัสที่ตัวเลนส์นะครับ

ตัวอักษรตัวแรกเป็นสถานที่ผลิต (ชื่อเมือง)

U = Utsunomiya, Japan
F = Fukushima, Japan
O = Oita, Japan


ตัวอักษรตัวที่สองเป็นปีที่ผลิต

S = 2004
T = 2005
U = 2006
V = 2007
W = 2008
X = 2009

ตัวย่อของ Nikon
AF = ระบบ Auto Focus
AF-S = Autofocusing with Silent Wave Motor = เลนส์ที่มีมอเตอร์ในตัว ทำให้โฟกัสได้เร็วและเงียบ
DX = ใช้กับฟอร์แมตกล้อง DX หมายถึงกล้องที่มีขนาดเซนเซอร์เล็กกว่าฟิล์ม
VR = Vibration Reduction = ระบบป้องกันภาพสั่น
G = ไม่มีวงแหวนปรับรูรับแสงบนเลนส์ ต้องปรับเปลี่ยนค่ารูรับแสงจากบอดี้ในตัวกล้อง
D = บ่งบอกว่าเป็นเลนส์ที่ใช้ร่วมกับระบบวัดแสง 3 มิติของกล้องรุ่นที่มีระบบวัดแสง 3 มิติ
ED = Extra-low Dispersion = มีชิ้นเลนส์คุณภาพสูงลดความคลาดสี ลดอาการขอบม่วง
DC = Defocus-image Control เป็นเลนส์พิเศษมีแหวนปรับความเบลอของภาพที่อยู่นอกโฟกัส
RD = Rounded Diapharm = เป็นการออกแบบให้รูรับแสงมีรูปทรงใกล้เคียงวงกลมมากขึ้น ส่งผลให้โบเก้
หรือรูปทรงของอาการเบลอที่ฉากหลังดูนุ่มนวลไม่กระด้าง


ตัวย่อของ Sigma

DG = เลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับกล้องดิจิตอลดีขึ้น ใช้กับฟิล์มได้ด้วย
DC = ใช้กับกล้องดิจิตอลที่มี CCD ขนาดเล็กกว่าฟิล์มเท่านั้น ถ้าใช้กับกล้องฟิล์ม หรือกล้องดิจิตอล
Full Frame จะติดขอบ
HSM = Hypersonic Motor มอเตอร์ในตัวเลนส์ โฟกัสไวและเงียบ
APO = ชิ้นเลนส์พิเศษลดความคลาดของสี
EX = บ่งบอกถึงว่าเป็นเลนส์ที่มีคุณภาพสูง ทั้งโครงสร้างและภาพที่ได้
OS = Optical Stabilizer เป็นระบบกันสั่นของ Sigma ครับ


ตัวย่อของ Tamron

Di = Digitally Integrated Design = เลนส์ที่ออกแบบมาให้เข้ากับกล้องดิจิตอลดีขึ้น
Di II = เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องดิจิตอลเท่านั้น ใช้กับกล้องฟิล์มไม่ได้
XR = Extra Refractive Index Lens เลนส์เทคโนโลยีการผลิตชิ้นแก้วกระจายแสง ลดการคลาดเคลื่อนสีให้
ต่ำที่สุด พร้อมทั้งช่วยให้การออกแบบเลนส์มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบาขึ้นและคงค่าการรับ
แสงเท่าเดิม
LD = Low Dispersion เลนส์ความคลาดแสงต่ำ
SP = Super Performance = เลนส์เกรดโปรของแทมร่อน
VC = Vibration Compensation เป็นระบบกันสั่นของ Tamron ครับ
AD = Anomalous Dispersion = ชิ้นเลนส์พิเศษช่วยปรับอัตราความยาวคลื่นแสงของแม่สีต่างๆที่ต่างกัน
ให้น้อยลง และลดการคลาดสีของเลนส์เทเลโฟโต้ รวมทั้งขจัดการคลาดสีของเลนส์มุมกว้าง
HID = High Index High Dispersion = ชิ้นเลนส์ที่ช่วยปรับช่วงความยาวคลื่นแสงของแม่สี ได้แก่ สีน้ำเงิน,
เขียวและแดง ให้มีความยาวคลื่นใกล้เคียงกัน เป็นการแก้ความคลาคเคลื่อนของสีแสงที่ผ่าน
เลนส์ เป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับเลนส์
ZL = Zoom Lock Feature = ระบบล็อคซูม เพื่อป้องกันกระบอกเลนส์ยืดออกในขณะสะพายหรือนำกล้อง
พร้อมเลนส์พกพาไปตามสถานที่ต่างๆ
SHM = Super Hybrid Mount = เทคโนโลยีการหล่อเมาท์โดยการฉีดวสดุผสม ระหว่างสเตนเลสกับ
พลาสติกสังเคราะห์ เพื่อให้เมาท์เลนส์มีความแข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักมากๆได้ และมี
น้ำหนักเบา

ส่วนเลนส์ที่มีมอร์เตอร์ รหัส model จะมี NII ต่อท้ายครับ เช่น

SP AF17-50mm Di II (model A16NII)
AF18-200mm Di II (model A14NII)
AF18-250mm Di II (model A18NII)
SP AF28-75mm Di (model A09NII)
AF28-300mm VC Di (model A20Nii)
AF70-300mm Di (model A17NII)
SP AF70-200mm Di (model A001NII)

ตัวย่อของ Pentax

FA = เลนส์สำหรับฟิล์ม แต่สามารถนำมาใช้กับ digital พอได้
DA = เลนส์สำหรับกล้อง Digital เท่านั้น ใช้กับกล้องฟลิม์มไม่ได้
D FA = เลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้ได้ทั้งกล้องฟิล์มและกล้อง digital ได้ทั้งคู่
SDM = Supersonic = มีมอเตอร์ในตัวเลนส์จึงช่วยให้การโฟกัสของเลนส์เร็วและเงียบ
AL = Aspherical Lens = ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม เพิ่มเติม
* = ซีรี่ย์เลนส์ที่ผลิตจากแก้ว โดยผ่านการหลอม และโค้ดอย่างดีเยี่ยม
ตัวย่อของ Sony / Konica Minolta
AS = Anti-Shake = ระบบป้องกันภาพสั่น แต่ระบบนี่การทำงานมันจะอยู่ที่ตัว CCD ไม่ได้ใช้ชิ้นเลนส์
G = เป็นเลน์เกรดโปรของค่าย Sony Konika Minolta
SSM = Super Sonic Motor = เป็นมอเตอร์ที่อยู่ในตัวเลนส์ ช่วยให้โฟกัสเร็วและเงียบขึ้น


ตัวย่อของ Tokina

AS = Aspherical Elements
AT-X = Advanced Technology Extra
FC = Focus Clutch
SD = Super Low Dispersion Glass


ตัวย่อมาตรฐานที่พบได้หลายค่าย

IF = Internal Focus คือระบบโฟกัสของเลนส์เป็นแบบเคลื่อนชิ้นเลนส์ภายใน
RF = Rear Focus คือการปรับโฟกัสของเลนส์ด้วยการเคลื่อนที่ของชุดเลนส์ชิ้นหลัง
ED = ED glass (Extra-low Dispersion) นอกจาก Nikon แล้วก็มี Pentax และ Olympus ที่ใช้ ED เช่นกัน
ASP = Aspherical คือชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม เพิ่มเติมจะพบในการนำเสนอของ Sigma
และ Tamron
APO = Apochromatic คือเลนส์ที่แก้ความคลาดของสี ซึ่งจะพบ APO กับเลนส์ค่าย Sigma และ Sony
Konika Minolta
Macro = เลนส์ที่ออกแบบมาให้ถ่ายได้ใกล้วัตถุมากๆเพื่อให้ได้ภาพวัตถุเล็กๆปรากฎเป็นภาพใหญ่
และ ถูกออกแบบให้แสดงความคมชัด รายละเอียดของภาพมากกว่าเลนส์ปรกติ
Fisheye lens = เลนส์ตาปลา อันนี้ก็เป็นเลนส์มุมกว้าง ที่ไม่แก้ความโค้ง ปล่อยความโค้งเต็มที่ ส่วนใหญ่
ก็เอาไว้ถ่ายอะไรที่ต้องการความกว้าง โดยไม่สนความโค้ง หรือเอา effect มาสร้างความ
แปลกตา


เพิ่มเติมรายละเอียดเรื่องความคลาดของสีกับความคลาดทรงกลมครับ

ความคลาดของสี (chromatic aberration) คือ โดยปกติแล้วเมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์
ไปตกกระทบบนระนาบของฟิล์มหรือ CCD ก็จะประกอบไปด้วยแม่สีทั้ง 3 คือ แดง เขียว น้ำเงิน
ซึ่งในเลนส์ธรรมดาทั่วไปแม่สีทั้ง 3 แต่ละสีจะมีจุดโฟกัสบนระนาบไม่เท่ากัน
สีแดงยาวที่สุด ตามมาด้วยเขียวและฟ้า ทีนี้เมื่อแม่สีทั้งสามมีระยะโฟกัสที่ไม่เท่ากัน
เมื่อ ตกลงบนระนาบของฟิล์มและผสมกันออกมาเป็นสีจึงทำให้ขาดความคมชัด สีสันไม่ถูกต้องตามธรรมชาติตลอดจนความเปรียบต่างไม่ดี ยิ่งเลนส์ทางยาวโฟกัสยิ่งสูงยิ่งมีความคลาดสีสูง
วิธีแก้ คือ ใช้วัสดุพิเศษที่มีความคลาดสีน้อยมากๆ มาทำชิ้นเลนส์ คือพวก UD,ED,LD,APO


ความคลาดทรงกลม (spherical aberration) คือการที่ภาพไม่สมบูรณ์อันเกิดมาจากการหักเหของแสง ที่มากขึ้นตามส่วนโค้งบริเวณขอบของเลนส์

อันจะมีผลต่อความถูกต้องของสีและความคมชัดของภาพ ทั้งนี้เพราะชิ้นเลนส์ทั่วๆไปที่มีความโค้ง เว้า ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนโค้งของทรงกลมทั้งสิ้น (spherical) อาจจะเพราะทำง่ายและราคาถูก แต่ก็มีปัญหาคือเกิดความคลาดทรงกลม จากการหักเหของแสงที่มากขึ้นกว่าตรงกลางเลนส์ตามขอบเลนส์

วิธีแก้ คือ ทำให้เลนส์ไม่เป็นทรงกลม A-spherical โดยปัจจุบันเราจะเห็นเลนส์นูนเลนส์เว้าประกอบกันเป็นชุดๆ ในเลนส์หนึ่งๆ ก็อาจจะมี หลายชุดที่มักจะเรียกกันว่า compound ซึ่งก็คือแก้ความคลาดทรงกลมนี่เอง และเรียกชุดเลนส์พวกนี้ว่า Aspherical lens.