Custom Search
##=================================================================## ##=================================================================##

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการถ่ายภาพพลุ

เทคนิคการถ่ายภาพพลุนั้น ไม่ว่าใช้กล้องอะไรก็เหมือนๆ กัน จะมีที่ต่างกันบ้างก็เพียงลักษณะการทำงานของตัวกล้องเอง กล้องดิจิทัลจะมีข้อจำกัดมากกว่ากล้องที่ใช้ฟิล์มในบางประการ อันได้แก่ ตัวเลขเอฟที่แคบที่สุดจะน้อยกว่า เช่นอาจมีแค่ f/8 หรือ f/11 เท่านั้นขณะที่กล้องใช้ฟิล์มส่วนใหญ่จะอยู่ที่ f/16 หรือ f/22 อีกประการหนึ่งคือกล้องดิจิทัลระดับคอนซูมเมอร์ (consumer) หรือ โปร



ซูมเมอร์(prosumer)ส่วนใหญ่มักจะไม่มีความเร็วชัตเตอร์ B มาให้ ดังนั้นการถ่ายภาพพลุให้ได้ดีค่อนข้างยากกว่าพอสมควร

หลักการถ่ายภาพพลุ

การ ถ่ายภาพพลุก็มีหลักเหมือนการถ่ายภาพทั่วไปคือ ตัวรับแสงควรได้รับแสงในปริมาณที่พอเพียง แต่เนื่องจากพลุมักจุดในเวลาค่ำคืนดังนั้น ความเร็วชัตเตอร์จึงมีความสำคัญน้อยมาก สิ่งที่ควบคุมความสว่างหรือมืดของภาพอยู่ที่เอฟนัมเบอร์เป็นหลัก ระยะเวลาในการเปิดปิดชัตเตอร์นั้นมีผลต่อจำนวนพลุที่จะปรากฏในภาพ หากใช้เวลาน้อยๆ ก็ได้จำนวนน้อย หากใช้เวลานานก็ได้จำนวนมาก อย่างไรก็ดีถ้านานเกินไป ภาพพลุก็จะซ้อนกันจนเกิดเป็นภาพ over ได้ และเนื่องจากต้องถ่ายภาพในเวลากลางคืนขาตั้งกล้องมีความสำคัญเป็นอย่างมาก กล้องควรยึดอยู่บนขาตั้งกล้องที่มีความแข็งแรงเพียงพอ

การเลือกเอฟนัมเบอร์

เอฟนัมเบอร์ที่เหมาะสมขึ้นกับปัจจัยหลายประการคือ

1. ความสว่างของพลุ พลุแต่ละลูกมีความสว่างแตกต่างกัน พลุที่สว่างมากก็ต้องเปิดหน้ากล้องให้แคบกว่าพลุที่สว่างน้อย อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติจริงเป็นไปได้น้อยมาก เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าพลุลูกไหนจะสว่างมากหรือน้อย ทั้งนี้เราไม่ต้องกังวลมากนักกับความสว่างของพลุที่ต่างกัน เพราะพลุเป็นแต่แสงสี ที่เคลื่อนที่ ไม่มีโทน(tone) ไม่มีรายละเอียด ดังนั้นเพียงแต่เลือกเอฟนัมเบอร์ที่พอบันทึกภาพให้เห็นสีที่ไม่มืดหรือสว่าง จนเป็นสีขาวก็ถือว่าเป็นภาพที่ดีแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง f8-f16

2. ความไวแสงของ CCD หรือ ISO speed หากเราตั้งความไวแสงของกล้องให้มีค่ามากเช่น 200 หรือ 400 ก็จะทำให้ต้องใช้หน้ากล้องแคบลง แต่เนื่องจากจะมี noise เกิดขึ้นบนภาพ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงความไวแสงสูงๆ และควรตั้งค่าต่ำที่สุดที่กล้องมีให้ เช่นที่ 100 หรือ 50 เป็นต้น

3 ระยะทาง หากกล้องอยู่ห่างจากพลุมาก ก็ควรเปิดหน้ากล้องให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ inverse square law หรือ กฏผกผันกำลังสอง กล่าวคือหากระยะทางจากแหล่งกำเนิดแสงอยู่ห่างไปจากเดิมหนึ่งเท่า ปริมาณแสงจะลดลงสองเท่า นั่นคือหากเราถ่ายภาพพลุด้วยระยะห่าง 100 เมตรด้วย f/11 แต่ถ้าอยู่ห่างออกไป สองร้อยเมตร ควรใช้ f/8 การเลือกชัตเตอร์สปีด ควรใช้ชัตเตอร์ B แต่ถ้ากล้องที่ใช้ไม่มีให้ก็ควรใช้ความเร็ว ประมาณ 2-8 วินาที ขึ้นกับว่า ช่วงเวลานั้นๆ พลุถูกจุดด้วยความถี่มากหรือน้อย


เทคนิคการถ่ายภาพ

สำหรับ กล้องที่มีชัตเตอร์ B ก็ควรพกกระดาษแข็งสีดำไปด้วย แล้วใช้เปิดปิดหน้ากล้องเพื่อเลือกบันทึกแสงจากพลุลูกใดลูกหนึ่งหรือหลายๆ ลูกไปในเฟรมเดียวกัน หากต้องการภาพพลุเพียงลูกใดลูกหนึ่ง ควรสังเกตจุดที่เป็นบริเวณที่วางพลุ หากเห็นแสงหรือควันไฟพุ่งออกมาแสดงว่า พลุได้ถูกจุดแล้ว ซึ่งเราต้องรีบดึงกระดาษดำออกเพื่อบันทึกภาพ พอหมดแสงพลุลูกนั้นก็ต้องรีบปิดกระดาษ หรือ ปิดชัตเตอร์ กรณีนี้ใช้ได้เฉพาะเมื่ออยู่ในทำเลที่ดีมากๆ และพลุไม่ถูกจุดพร้อมๆ กัน เท่านั้น

ภาพด้านล่่างนี้เป็นภาพที่ผมถ่ายงานแสดงพลุในประเทศ ญี่ปุ่น อันที่จริงแล้วภาพพลุอย่างเดียวเป็นภาพที่น่าสนใจน้อยกว่า ภาพพลุที่มีแสงจากอาคารบ้านเรือน ประกอบอยู่ในภาพด้วย ภาพแสงไฟจากตึกสวยๆ สะพานโค้ง และอื่นๆ จะทำให้ภาพดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วหลังพระอาทิตย์ตกดินไม่นานนัก ท้องฟ้ายังมีแสง สนธยาลางๆ ให้เห็นก็จะยิ่งสร้างบรรยากาศให้น่าดู น่าชม

ข้อมูลจาก : fotofile.net