Custom Search
##=================================================================## ##=================================================================##

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

เลนส์ Nikkor/Nikon





Nikon เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์ถ่ายภาพ โดยทุกขั้นตอนการผลิตเลนส์ภายในโรงงานของตนเองมาตลอด ตั้งแต่การหลอมเลนส์ คำนวนและออกแบบชิ้นเลนส์ ไปจนถึงการผลิต ดังนั้นคำกล่าวว่าเลนส์ของ Nikon บางรุ่นถูกผลิตโดยผู้ผลิตอื่นจึงไม่เป็นความจริง ในทางตรงกันข้าม กลับเป็น Nikon เองที่ผลิตเลนส์ให้แก่บริษัทอื่น ตั้งแต่ปี 1932 เลนส์จาก Nikon จะถูกใช้ชื่อว่า "Nikkor"

......

บทความเรื่องเลนส์ Nikkor/Nikon


Nikon เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์ถ่ายภาพ โดยทุกขั้นตอนการผลิตเลนส์ภายในโรงงานของตนเองมาตลอด ตั้งแต่การหลอมเลนส์ คำนวนและออกแบบชิ้นเลนส์ ไปจนถึงการผลิต ดังนั้นคำกล่าวว่าเลนส์ของ Nikon บางรุ่นถูกผลิตโดยผู้ผลิตอื่นจึงไม่เป็นความจริง ในทางตรงกันข้าม กลับเป็น Nikon เองที่ผลิตเลนส์ให้แก่บริษัทอื่น ตั้งแต่ปี 1932 เลนส์จาก Nikon จะถูกใช้ชื่อว่า "Nikkor"

Mount Nikkor
1. Invasive Fisheyes ผลิตในปี 1960s Mount จะยื่นเข้าไปในกล้อง
2. Pre-AI (NON-AI) หรือ NAI ผลิตในปี1959-1977 Prong หรือเขี้ยว(ที่คนไทยเรียกว่าหูกระต่าย) ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับเดือยที่อยู่ที่กล้องหรืออยู่ที่ปริซึมแล้วแต่รุ่น Nikon F อยู่ที่ปริซึม Nikkomatหรือ Nikkormatอยู่ที่บอดี้รอบเมาท์เลนส์ เพื่อเป็นการบอกให้กล้องรู้ว่าเลนส์ที่ใช้มีรูรับแสงกว้างสุดเท่าไหร่ และขณะที่ใช้งานปรับค่ารูรับแสงไปที่เอฟไหน เพราะ Nikon ใช้การวัดแสงแบบรูรับแสงกว้างสุดเปิดตลอดเวลานะครับ Non AI หูกระต่ายจะตันนะครับ ถ้าเป็นAIและAI-s หูจะเจาะรูแล้ว ซึ่งถ้าเจอหูตันแต่มีบากAI นั่นคือเลนส์ AI Mod ครับ


3. AI Converted ผลิตในปี 1959-Present เหมือนกับ AI จะแสดงรูรับแสง 2 แถว ตัวล็อกเลนส์จะคว่ำลง

- ดัดแปลงจากโรงงาน จะแสดงรูรับแสง 2 แถว แต่ตัวเลขแถวล่าง เป็นเลขที่ปั๊มลึกลงตัวเลนส์
- ดัดแปลงกันเอง จะแสดงรูรับแสง 2 แถว แต่ตัวเลขแถวล่าง เป็นแผ่นตัวเลขติด
4. AI, AI-S ผลิตในปี 1977-Present จะแสดงรูรับแสง 2 แถว ตัวล็อกเลนส์จะคว่ำลง

- รุ่น AI ตัวเลขรูรับแสงมากที่สุด (รูรับแสงแคบสุด,F22) ช่องรับแสงแคบสุดของเลนส์AI มีหลายสี
- ส่วนรุ่น AI-S ตัวเลขรูรับแสงมากที่สุด (รูรับแสงแคบสุด,F22) จะเป็นสีส้ม และที่ท้ายเลนส์จะมีร่องอยู่
ร่อง นี้มีไว้กับกล้องในยุคนั้นไม่กี่ตัวคือ FA FG F-301 F-501 F4 เพื่อบอกให้กล้องทราบว่า เลนส์ตัวนี้เป็นเลนส์ที่มีค่าแรงต้านของสปริงเท่ากันตั้งแต่เอฟกว้างสุดไปเอ ฟแคบสุด เพื่อที่จะสามารถใช้งานในระบบSและP ได้ครับ และเนื่องจากเลนส์AIบางตัวจะมีสีส้ที่รูรับแสงแคบสุดด้วย เพราะฉะนั้นวิธีที่ดูได้ดีกว่าคือดูที่ตัวเลขรูรับแสงตัวที่2(เอาไว้ใช้ดูใน ระบบADR Aperture Direct Readout ซึ่งมีในกล้องManual ของนิคอนครับ
- ยังมีรุ่นที่เป็น Series-E (AI-E) ผลิตในปี 1979s เพื่อลดต้นทุนการผลิต ให้ได้เลนส์ราคาถูกลง แต่ยังคงประสิทธิ์ภาพ ของเลนส์อยู่ โดยการเปลี่ยน Body จากโลหะเป็นพลาสติก ลดการ Coated เลนส์ ให้บางลง (ในบางรุ่น) แต่ทั้งหมดของ Series-E เป็น AI-S
5. AF, AF-D (Screw) ผลิตในปี 1986-Present เป็น Auto Focus จะมี Pin ด้านข้าง 5 Pin
- AI-P =
การ เอาเลนส์แมนนวลโฟกัสมาใส่ CPU ของเลนส์ เพื่อบอกค่ารูรับแสงให้กับกล้องNikon AF ทั้งหลาย ทำให้มันใช้งานได้ครบทั้งP S A M และระบบวัดแสงแบบMatrix เพราะกล้องAF นิคอนจะใช้การส่งผ่านข้อมูลจากเลนส์มากล้องด้วยชิพครับ ไม่ใช่ว่าใส่ไปแล้วกล้องมันหมุนโฟกัสเองได้นะครับ
- AF-n = new cosmetics เลนส์ AF ยุคแรกของ Nikon ที่ไม่ใช่เลนส์สำหรับNikon F3AF จะเห็นว่าเลนส์ใช้วงแหวนโฟกัสเป็นพลาสติก ทำลายเซาะร่องถี่ๆ กระบอกเลนส์เป็นพลาสติกเรียบๆ และใช้การลอครูรับแสงแคบสุดด้วยการหมุนแป้นกลมๆที่วงแหวนปรับรูรับแสง แต่เลนส์ AF(n) จะแก้ไขวงแหวนโฟกัสโดยใช้ยางหุ้มแหวนโฟกัสเป็นยางที่เกาะนิ้วกว่าเดิมมาก กระบอกเลนส์ในเลนส์เกรดดีๆจะเป็นลายพ่นทราย(หากสามารถหารูปเลนส์ Nikkor 180/2.8 ED และ 180/2.8ED(n) จะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนครับ) และการลอควงแหวนช่องรับแสงให้แคบสุดจะเป็นการเลื่อนสวิทช์ลงมา ไม่ได้กดแล้วหมุนอีกต่อไปครับ
- AF-D = Distance Information
6. AF-S, AF-I ผลิตในปี 1992-Present เป็น Auto Focus จะมี Pin ด้านข้าง 7-10 Pin
- AF-S = Silence Wave Motor ใช้ระบบไฟฟ้ามาควบคุม แต่การทำงานเงียบขึ้น
- AF-I = Internal Motor ใช้ระบบไฟฟ้ามาควบคุม
โดยสรุปจาก Mount ต่างๆ ของ Nikkor

สรุปจากภาพอีกครั้งระหว่าง NON-AI/AI/AIS



ถอดรหัสของเลนส์
เป็นรหัสชิ้นเลนส์ ซึ่งเป็นรหัสตัวอักษรโรมัน บอกถึงชิ้นเลนส์ อยู่ตรงหน้าเลนส์
U(UNI)=1, B(BI)=2, T(TRI)=3, Q(QUADRA)=4, P(PENTA)=5, H(HEXA)=6, S(SEPTA)=7, O(OCTA)=8, N(NANO)=9, D(DECA)=10
ยกตัวอย่าง Nikor-S 35mm F2.8 เลนส์ AI ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ 7 ชิ้น เป็นต้น

เทคโนโลยี ของเลนส์ Nikkor
1. CRC (Close Range Correction) เป็นการแก้เพื่อให้เลนส์มีความคมชัดสูงได้ตั้งแต่ระยะใกล้สุดไปถึงระยะอนันต์(infinity)
2. PC (Perspective Control) เป็น เลนส์ PC ปรับได้แต่ Shift คือเลื่อนขึ้นลงหรือซ้ายขวานะครับ ไม่สามารถกระดกเลนส์ชุดหน้าทำมุมกับระนาบฟิล์มได้แบบเลนส์ T-S ของแคนอนนะครับ เลนส์ Nikon ที่แก้แบบTSของนิคอนนั้นออกมาทีหลังมาก ใช้ชื่อว่า PC-E ครับ
3. Aspherical Elements เลนส์แก้ความผิดเพี้ยนของภาพ โดยเฉพาะตรงขอบ
4. NIC (Nikon Integrated Coating)/SIC (Nikon Super-integrated Coating)

5. ED (Extra-low Dispersion) Glass เป็น ชิ้นเลนส์ที่มีการกระเจิงของสเปคตรัมแสงต่ำ ทำให้สเปคตรัมแสงตกลงจุดเดียวกัน ช่วยลดอาการขอบภาพมีสีเหลื่อมม่วงหรือเหลื่อมเขียวครับ
6. IF (Internal Focusing) การใช้เทคโนโนยีในการปรับโฟกัส โดยใช้หมุนชุดชิ้นเลนส์ภายใน ทำให้การปรับโฟกัสได้เร็วขึ้น
7. RF (Rear Focusing) การปรับโฟกัสจากท้ายเลนส์ สังเกตุจากท้ายเลนส์จะยืด-หดเข้าไปได้

8. DC (Defocus Control or variable bokeh) เลนส์ DC มีไว้"เขยิบ" ช่วงของDOF จากเลนส์ปกติให้สามารถเลื่อนมาด้านหน้าหรือด้านหลังได้ เพื่อฉากหลังที่ดูเนียนตาขึ้นครับ โดยทั่วๆไปมันคมน้อยลงนิดๆซะด้วยซ้ำไปนะครับ
9. VR เป็นระบบป้องกันกันสั่น ผลิตในปี 2000-Present เป็น Auto Focus จะมี Pin ด้านข้าง 10 Pin
10. G (Gelded) ผลิตในปี 2003-Present ไม่มีที่ปรับรูรับแสงจากตัวเลนส์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่จะปรับได้จากตัวกล้อง
11. DX ใช้กับกล้องที่มีแฟรมขนาด (16x24mm) หรือกล้องตัวคูณ
12. Nano ผลิตในปี 2006-Present ระบบการ Coat เลนส์ระบบใหม่ เพื่อทำให้การ coat มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ลดการเกิด Flare, เพิ่ม contrast และการป้องกันชิ้นเลนส์


พัฒนาในเลนส์ไปใช้กับกล้อง Nikon DSLR
ปัจจุบัน มีคนเริ่มหันมาใช้เลนส์มือหมุนมาใช้ร่วมกับกล้อง DSLR ซึ่งสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อจำกัดว่า ในบางรุ่นก็ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิ์ภาพ โดยเฉพาะกับการเข้ากันกับกล้อง Nikon

โดยสรุปเป็นตารางการใช้งานระหว่างเลนส์และกล้องรุ่นต่างๆ ได้ดังนี้

แต่ สำหรับกล้องรุ่นอื่นก็สามารถใช้กับเลนส์ Nikkor ได้อย่างลงตัวเช่นเดียวกันโดยหา Adapter มาใส่เท่านั้นกันจะสามารถใช้งานได้อย่างลงตัว เช่น กล้อง Canon ใช้กับเลนส์ Nikkor เป็นต้น
บทความนี้คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ข้อมูลทั้งหมดนำมากจากข้อมูลด้านล่าง หรือ หาข้อมูลเพิ่มเติมจาก ข้อมูลนี้
http://www.kenrockwell.com/nikon/compatibility-lens.htm

http://www.kenrockwell.com/nikon/nikortek.htm#f

http://rick_oleson.tripod.com/index-153.html

http://www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?t=89981

สารพันเรื่องถ่ายภาพ-หนังสือ Nikon Compendium “ เรื่องน่ารู้ของเลนส์ Nikon” แปล/เรียบเรียง : ปกากร วนกุล