Custom Search
##=================================================================## ##=================================================================##

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Sigma 50/1.4 EX DG HSM Review

Lens Review: Sigma 50/1.4 EX DG HSM - Normal Alternative

Name:  Sigma_50mm_F1-4_pic.jpg  Views: 4286  Size:  45.5 KB



Specifications
Name:  Sigma_50mm_F1-4_const.jpg  Views: 3972  Size:  12.6 KB

โครงสร้างเลนส์
8 ชิ้น, 6 กลุ่ม (ชิ้นเลนส์ Aspherical 1 ชิ้น)

กลีบรูรับแสง
9 กลีบ แบบโค้ง

ระยะโฟกัสใกล้สุด
0.45 m

กำลังขยายสูงสุด - ที่ระยะโฟกัสใกล้สุด
0.135 (1:7.4)

วงรอบวงแหวนโฟกัส - จำนวนรอบของวงแหวนโฟกัสจากระยะใกล้สุดถึง Infinity
ประมาณ 1/4 รอย, ไม่หมุนตามเมื่อใช้ Auto Focus

เกลียวหน้าเลนส์
ขนาด 77mm, ไม่หมุนเวลาหาโฟกัส

ความยาวกระบอกเลนส์เมื่อเปลี่ยนระยะโฟกัส
ไม่ยื่น

วัสดุวงแหวนประกบ
โลหะ

ขนาดและน้ำหนัก
84x68 mm, 0.5 kg


หน้าเลนส์ใหญ่ถึง 77mm พร้อมฮูดแบบกลีบดอกไม้.. กระบอกเลนส์ออกแบบให้มีการเคลื่อนที่ของหน้าเลนส์ภายในกระบอก ทำให้ความยาวของกระบอกเลนส์ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเปลี่ยนระยะโฟกัส โครงสร้างแข็งแรง.. มอเตอร์ HSM วิ่งได้รวดเร็ว โฟกัสจับได้ค่อนข้างเร็ว ไม่วืดวาดแม้แสงจะน้อย


ความคมชัด และ การคลาดสี

MTF หรือ Modulation Transfer Function เป็นค่าที่สามารถบ่งบอกได้ถึงความสามารถหรือคุณสมบัติในการถ่ายทอดราย ละเอียดของภาพที่ได้ ซึ่งบ่งบอกถึงความคมชัดของภาพได้.. MTF (ที่ 50%) จึงนิยมใช้ในการแสดงถึงความคมชัดของเลนส์.. โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้แสดงความสามารถว่า เลนส์ ยิ่งค่า MTF สูงเท่าไหร่ก็หมายถึงเลนส์มีความคมเก็บรายละเอียด และมี contrast ดีมากขึ้นเท่านั้น..

Optimum MTF-50 score ที่ได้ เกิดจากการโฟกัสในหลายๆ ระนาบโฟกัส เพื่อชดเชยอาการ Field of Curvature หรือ ระนาบโฟกัสไม่แบนเรียบ โดยนำค่าเฉลี่ย MTF-50 ที่ดีที่สุดมาแสดงไว้

Lateral Chromatic Aberration (CA) หรือ อาการคลาดสีในแนวเส้นทะแยงมุมของระนาบของภาพ คือ อาการที่ขอบของจุดในภาพ มีการตัดขอบของสีไม่ตรงกัน..
จะแตกต่างจาก Longitudinal Chromatic Aberration (LoCA, Axial CA) หรืออาการคลาดสี ในแนวตั้งฉากกับระนาบของภาพ.. ซึ่งก็คือ อาการที่ขอบของจุดในภาพจะมีการไล่สีไม่ตรงกัน.. อันเนื่องมาจากจุดโฟกัสของแสงในแต่ละความยาวคลื่นอยู่ไม่ตรงกัน..


Name:  Sigma_50mm_F1-4_mtf.jpg  Views: 3980  Size:  122.6 KB
* สำหรับกล้อง DX format ขอบของภาพ สามารถดูได้จาก กราฟแท่งกลาง (Middle)

ความคมชัดโดยรวมถือว่าทำได้ในระดับที่ดี และใช้ได้อย่างดีในช่วงรูรับแสงตั้งแต่ F2.0 ขึ้นไป..
ความคมชัดที่ขอบภาพไม่ค่อยดีนัก แต่ก็จัดว่าใช้ได้ที่ F4.0 ขึ้นไป..
ระดับ CA จัดอยู่ในระดับกลางๆ ไม่มาก ไม่น้อย...
ที่น่าชมเชยคือ มี LoCA (Axial CA) เพียงเล็กน้อยจนแทบสังเกตุไม่เห็นตลอดทุกช่วงรูรับแสง หรือ แม้จะเปิดกว้างสุดก็ตาม..


Vignette - Light fall-off

Vignette หรือ ขอบภาพมืด ของ Sigma 50/1.4 HSM นั้น ถือว่าน้อยมาก เพราะหากใช้ f/2 ก็แทบจะไม่ค่อยเห็นขอบมืดเท่าไหร่
อาจจะเป็นข้อดีของเลนส์ที่มีหน้าเลนส์กว้างๆ แบบนี้..

Name:  Sigma_50mm_F1-4_vig.jpg  Views: 3974  Size:  76.3 KB


* สำหรับกล้อง DX format สามารถตรวจสอบอาการมืดของมุมภาพได้ที่ 60% ถึง 70%



Veiling Glare

Veiling Glare คือ แสงสะท้อนหรือแสงฟุ้งที่เกิดจากการสะท้อนไปมา ระหว่างชิ้นเลนส์ ภายในระบบเลนส์..
ซึ่งถ้ามีแสง glare นี้ มากๆ ก็ส่งผลถึงการเกิด flare รวมทั้ง ghost และส่งผลถึง contrast ของภาพที่ได้ และจะชัดเจนเมื่อมีการถ่ายย้อนแสง หรือใกล้ ดวงไฟหรือแหล่งกำเนิดแสง หากเลนส์ที่มี Veiling Glare น้อยๆ ก็อาจจะช่วยให้ภาพมีสีสันที่ดี สีอิ่ม รวมถึงมี contrast สูง

อย่างไรก็ตาม การที่จะระบุว่า เลนส์ตัวนี้มี flare เยอะ หรือ มี ghost รวมทั้ง contrast โดยทั่วไป ดีไม่ดีอย่างไร ไม่สามารถระบุได้โดยการวัดค่า Veiling Glare ที่ได้จากการทดสอบนี้เพียงลำพัง.. เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมาก.. แต่ Veiling Glare ที่นำเสนอนี้ก็สามารถใช้ทำนายคุณภาพของภาพได้ในหลายๆ กรณี..

* ในการทดสอบ Veiling Glare ซึ่งเกิดมาจากแสงที่ เข้ามากระทบหน้าเลนส์ จากหลายทิศทาง ทั้งที่อยู่ในเฟรมภาพและที่อยู่รอบๆ ตัว จึงจำเป็นต้องควบคุมแสงแวดล้อมที่ใช้ในการทดสอบ.. ในการทดสอบนี้จึงไม่สวมฮูด หากสวมฮูดก็จะช่วยลดอาการ Veiling Glare จากแสงรอบๆ ภาพบางส่วนได้..
อย่างไรก็ตาม รูปแบบการทดสอบนี้ อาจจะยังไม่สมบูรณ์ และ ยังไม่มีมาตราฐานมากพอ เนื่องจากการควบคุมสภาวะต่างๆ ทำได้ไม่มาก..


สำหรับเลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยว ซึ่งมักมีจำนวนชิ้นเลนส์ไม่มาก ทำให้การสะท้อนระหว่างชิ้นเลนส์มีน้อยตามจำนวนชิ้นเลนส์ อย่างเลนส์ Sigma 50/1.4 HSM ตัวนี้ มีค่า veiling glare เพียง 1.33% ซึ่งเลนส์ชิ้นโตขนาดนี้ ก็ถือว่าค่อนข้างต่ำแล้ว..

ภาพจำลองเปรียบเทียบ.. ระดับของ glare.. ระดับความมืดของกรอบสีดำยิ่งมืดแสดงให้เห็นว่ามีการลด glare ได้เป็นอย่างดี..

Name:  Sigma_50mm_F1-4_glare.jpg  Views: 3965  Size:  10.5 KB


Bokeh

Bokeh ของ Sigma 50/1.4 HSM ตัวนี้ดูกลมสวยงาม.. ขอบดวง Bokeh นิ่มนวล ไม่ขึ้นเส้นให้เห็นชัดเจนนัก..

Name:  Sigma_50mm_F1-4_bokeh.jpg  Views: 3966  Size:  177.4 KB



การถ่ายทอดสี
จากการทดสอบโดยควบคุมแสงและคงค่าสมดุลสีขาว (White Balance) กับสีต่างๆ บน ColorChecker Chart ได้ผลตาม แผนภูมินี้

Name:  Sigma_50mm_F1-4_color.jpg  Views: 3956  Size:  141.2 KB

แผนภูมิแสดงค่าสีในระบบ L*a*b* (L*=75) ของสีต่างๆ บน ColorChecker.. จำนวน 19 สี ที่ถ่ายออกมาได้..
วงกลมสีเทา หมายถึง การกระจายตัวของสีของเลนส์ตัวอื่นๆ ในฐานข้อมูล..
ส่วน วงกลมสีฟ้าจะแสดงค่าสีที่ได้จากเลนส์ Sigma 50/1.4 HSM..

จะเห็นว่า Sigma ตัวนี้ ให้สีออกมาธรรมชาติมาก.. ไม่อมสี..


บทความจาก http://www.lenklong.com