Custom Search
##=================================================================## ##=================================================================##

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการถ่ายภาพพลุ

เทคนิคการถ่ายภาพพลุนั้น ไม่ว่าใช้กล้องอะไรก็เหมือนๆ กัน จะมีที่ต่างกันบ้างก็เพียงลักษณะการทำงานของตัวกล้องเอง กล้องดิจิทัลจะมีข้อจำกัดมากกว่ากล้องที่ใช้ฟิล์มในบางประการ อันได้แก่ ตัวเลขเอฟที่แคบที่สุดจะน้อยกว่า เช่นอาจมีแค่ f/8 หรือ f/11 เท่านั้นขณะที่กล้องใช้ฟิล์มส่วนใหญ่จะอยู่ที่ f/16 หรือ f/22 อีกประการหนึ่งคือกล้องดิจิทัลระดับคอนซูมเมอร์ (consumer) หรือ โปร



ซูมเมอร์(prosumer)ส่วนใหญ่มักจะไม่มีความเร็วชัตเตอร์ B มาให้ ดังนั้นการถ่ายภาพพลุให้ได้ดีค่อนข้างยากกว่าพอสมควร

หลักการถ่ายภาพพลุ

การ ถ่ายภาพพลุก็มีหลักเหมือนการถ่ายภาพทั่วไปคือ ตัวรับแสงควรได้รับแสงในปริมาณที่พอเพียง แต่เนื่องจากพลุมักจุดในเวลาค่ำคืนดังนั้น ความเร็วชัตเตอร์จึงมีความสำคัญน้อยมาก สิ่งที่ควบคุมความสว่างหรือมืดของภาพอยู่ที่เอฟนัมเบอร์เป็นหลัก ระยะเวลาในการเปิดปิดชัตเตอร์นั้นมีผลต่อจำนวนพลุที่จะปรากฏในภาพ หากใช้เวลาน้อยๆ ก็ได้จำนวนน้อย หากใช้เวลานานก็ได้จำนวนมาก อย่างไรก็ดีถ้านานเกินไป ภาพพลุก็จะซ้อนกันจนเกิดเป็นภาพ over ได้ และเนื่องจากต้องถ่ายภาพในเวลากลางคืนขาตั้งกล้องมีความสำคัญเป็นอย่างมาก กล้องควรยึดอยู่บนขาตั้งกล้องที่มีความแข็งแรงเพียงพอ

การเลือกเอฟนัมเบอร์

เอฟนัมเบอร์ที่เหมาะสมขึ้นกับปัจจัยหลายประการคือ

1. ความสว่างของพลุ พลุแต่ละลูกมีความสว่างแตกต่างกัน พลุที่สว่างมากก็ต้องเปิดหน้ากล้องให้แคบกว่าพลุที่สว่างน้อย อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติจริงเป็นไปได้น้อยมาก เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าพลุลูกไหนจะสว่างมากหรือน้อย ทั้งนี้เราไม่ต้องกังวลมากนักกับความสว่างของพลุที่ต่างกัน เพราะพลุเป็นแต่แสงสี ที่เคลื่อนที่ ไม่มีโทน(tone) ไม่มีรายละเอียด ดังนั้นเพียงแต่เลือกเอฟนัมเบอร์ที่พอบันทึกภาพให้เห็นสีที่ไม่มืดหรือสว่าง จนเป็นสีขาวก็ถือว่าเป็นภาพที่ดีแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง f8-f16

2. ความไวแสงของ CCD หรือ ISO speed หากเราตั้งความไวแสงของกล้องให้มีค่ามากเช่น 200 หรือ 400 ก็จะทำให้ต้องใช้หน้ากล้องแคบลง แต่เนื่องจากจะมี noise เกิดขึ้นบนภาพ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงความไวแสงสูงๆ และควรตั้งค่าต่ำที่สุดที่กล้องมีให้ เช่นที่ 100 หรือ 50 เป็นต้น

3 ระยะทาง หากกล้องอยู่ห่างจากพลุมาก ก็ควรเปิดหน้ากล้องให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ inverse square law หรือ กฏผกผันกำลังสอง กล่าวคือหากระยะทางจากแหล่งกำเนิดแสงอยู่ห่างไปจากเดิมหนึ่งเท่า ปริมาณแสงจะลดลงสองเท่า นั่นคือหากเราถ่ายภาพพลุด้วยระยะห่าง 100 เมตรด้วย f/11 แต่ถ้าอยู่ห่างออกไป สองร้อยเมตร ควรใช้ f/8 การเลือกชัตเตอร์สปีด ควรใช้ชัตเตอร์ B แต่ถ้ากล้องที่ใช้ไม่มีให้ก็ควรใช้ความเร็ว ประมาณ 2-8 วินาที ขึ้นกับว่า ช่วงเวลานั้นๆ พลุถูกจุดด้วยความถี่มากหรือน้อย


เทคนิคการถ่ายภาพ

สำหรับ กล้องที่มีชัตเตอร์ B ก็ควรพกกระดาษแข็งสีดำไปด้วย แล้วใช้เปิดปิดหน้ากล้องเพื่อเลือกบันทึกแสงจากพลุลูกใดลูกหนึ่งหรือหลายๆ ลูกไปในเฟรมเดียวกัน หากต้องการภาพพลุเพียงลูกใดลูกหนึ่ง ควรสังเกตจุดที่เป็นบริเวณที่วางพลุ หากเห็นแสงหรือควันไฟพุ่งออกมาแสดงว่า พลุได้ถูกจุดแล้ว ซึ่งเราต้องรีบดึงกระดาษดำออกเพื่อบันทึกภาพ พอหมดแสงพลุลูกนั้นก็ต้องรีบปิดกระดาษ หรือ ปิดชัตเตอร์ กรณีนี้ใช้ได้เฉพาะเมื่ออยู่ในทำเลที่ดีมากๆ และพลุไม่ถูกจุดพร้อมๆ กัน เท่านั้น

ภาพด้านล่่างนี้เป็นภาพที่ผมถ่ายงานแสดงพลุในประเทศ ญี่ปุ่น อันที่จริงแล้วภาพพลุอย่างเดียวเป็นภาพที่น่าสนใจน้อยกว่า ภาพพลุที่มีแสงจากอาคารบ้านเรือน ประกอบอยู่ในภาพด้วย ภาพแสงไฟจากตึกสวยๆ สะพานโค้ง และอื่นๆ จะทำให้ภาพดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วหลังพระอาทิตย์ตกดินไม่นานนัก ท้องฟ้ายังมีแสง สนธยาลางๆ ให้เห็นก็จะยิ่งสร้างบรรยากาศให้น่าดู น่าชม

ข้อมูลจาก : fotofile.net

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายของตัวย่อต่างๆในการดูเลนส์


ตัวย่อของ Canon

EF = Electro-Focus เป็นชื่อ เมาท์มาตรฐานของ เลนส์ Canon ใช้ได้กับกล้อง EOS ฟิลม์ และดิจิตอล ที่
เป็น Full Frame ทุกตัว
EF-S = EF with Short back focus สำหรับกล้องดิจิที่มีตัวคูณ ในระบบ EOS
IS = Image Stabilizer = ระบบกันสั่นเวลาถ่ายภาพ
USM = Ultra Sonic Motor มอเตอร์ focus ความเร็วสูงและเงียบ
FTM = Full time manual focus ในขณะใช้ mode auto focus ก็สามารถใช้ manual focus ได้ทันทีไม่ต้องไป
ปรับปุ่มเลย ส่วนใหญ่จะคู่กับระบบ USM ครับ
DO = Diffractive Optical คือ ชิ้นเลนส์พิเศษที่ทาง Canon พัฒนาขึ้นมามีลักษณะเป็นวง ๆ ซ้อน ๆ กัน
L = Luxury Grade = ชิ้นเลนส์คุณภาพสูงของ canon เลนส์ทำจาก UD glass (Ultra-low Dispersion)
รหัสที่ตัวเลนส์นะครับ

ตัวอักษรตัวแรกเป็นสถานที่ผลิต (ชื่อเมือง)

U = Utsunomiya, Japan
F = Fukushima, Japan
O = Oita, Japan


ตัวอักษรตัวที่สองเป็นปีที่ผลิต

S = 2004
T = 2005
U = 2006
V = 2007
W = 2008
X = 2009

ตัวย่อของ Nikon
AF = ระบบ Auto Focus
AF-S = Autofocusing with Silent Wave Motor = เลนส์ที่มีมอเตอร์ในตัว ทำให้โฟกัสได้เร็วและเงียบ
DX = ใช้กับฟอร์แมตกล้อง DX หมายถึงกล้องที่มีขนาดเซนเซอร์เล็กกว่าฟิล์ม
VR = Vibration Reduction = ระบบป้องกันภาพสั่น
G = ไม่มีวงแหวนปรับรูรับแสงบนเลนส์ ต้องปรับเปลี่ยนค่ารูรับแสงจากบอดี้ในตัวกล้อง
D = บ่งบอกว่าเป็นเลนส์ที่ใช้ร่วมกับระบบวัดแสง 3 มิติของกล้องรุ่นที่มีระบบวัดแสง 3 มิติ
ED = Extra-low Dispersion = มีชิ้นเลนส์คุณภาพสูงลดความคลาดสี ลดอาการขอบม่วง
DC = Defocus-image Control เป็นเลนส์พิเศษมีแหวนปรับความเบลอของภาพที่อยู่นอกโฟกัส
RD = Rounded Diapharm = เป็นการออกแบบให้รูรับแสงมีรูปทรงใกล้เคียงวงกลมมากขึ้น ส่งผลให้โบเก้
หรือรูปทรงของอาการเบลอที่ฉากหลังดูนุ่มนวลไม่กระด้าง


ตัวย่อของ Sigma

DG = เลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับกล้องดิจิตอลดีขึ้น ใช้กับฟิล์มได้ด้วย
DC = ใช้กับกล้องดิจิตอลที่มี CCD ขนาดเล็กกว่าฟิล์มเท่านั้น ถ้าใช้กับกล้องฟิล์ม หรือกล้องดิจิตอล
Full Frame จะติดขอบ
HSM = Hypersonic Motor มอเตอร์ในตัวเลนส์ โฟกัสไวและเงียบ
APO = ชิ้นเลนส์พิเศษลดความคลาดของสี
EX = บ่งบอกถึงว่าเป็นเลนส์ที่มีคุณภาพสูง ทั้งโครงสร้างและภาพที่ได้
OS = Optical Stabilizer เป็นระบบกันสั่นของ Sigma ครับ


ตัวย่อของ Tamron

Di = Digitally Integrated Design = เลนส์ที่ออกแบบมาให้เข้ากับกล้องดิจิตอลดีขึ้น
Di II = เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องดิจิตอลเท่านั้น ใช้กับกล้องฟิล์มไม่ได้
XR = Extra Refractive Index Lens เลนส์เทคโนโลยีการผลิตชิ้นแก้วกระจายแสง ลดการคลาดเคลื่อนสีให้
ต่ำที่สุด พร้อมทั้งช่วยให้การออกแบบเลนส์มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบาขึ้นและคงค่าการรับ
แสงเท่าเดิม
LD = Low Dispersion เลนส์ความคลาดแสงต่ำ
SP = Super Performance = เลนส์เกรดโปรของแทมร่อน
VC = Vibration Compensation เป็นระบบกันสั่นของ Tamron ครับ
AD = Anomalous Dispersion = ชิ้นเลนส์พิเศษช่วยปรับอัตราความยาวคลื่นแสงของแม่สีต่างๆที่ต่างกัน
ให้น้อยลง และลดการคลาดสีของเลนส์เทเลโฟโต้ รวมทั้งขจัดการคลาดสีของเลนส์มุมกว้าง
HID = High Index High Dispersion = ชิ้นเลนส์ที่ช่วยปรับช่วงความยาวคลื่นแสงของแม่สี ได้แก่ สีน้ำเงิน,
เขียวและแดง ให้มีความยาวคลื่นใกล้เคียงกัน เป็นการแก้ความคลาคเคลื่อนของสีแสงที่ผ่าน
เลนส์ เป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับเลนส์
ZL = Zoom Lock Feature = ระบบล็อคซูม เพื่อป้องกันกระบอกเลนส์ยืดออกในขณะสะพายหรือนำกล้อง
พร้อมเลนส์พกพาไปตามสถานที่ต่างๆ
SHM = Super Hybrid Mount = เทคโนโลยีการหล่อเมาท์โดยการฉีดวสดุผสม ระหว่างสเตนเลสกับ
พลาสติกสังเคราะห์ เพื่อให้เมาท์เลนส์มีความแข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักมากๆได้ และมี
น้ำหนักเบา

ส่วนเลนส์ที่มีมอร์เตอร์ รหัส model จะมี NII ต่อท้ายครับ เช่น

SP AF17-50mm Di II (model A16NII)
AF18-200mm Di II (model A14NII)
AF18-250mm Di II (model A18NII)
SP AF28-75mm Di (model A09NII)
AF28-300mm VC Di (model A20Nii)
AF70-300mm Di (model A17NII)
SP AF70-200mm Di (model A001NII)

ตัวย่อของ Pentax

FA = เลนส์สำหรับฟิล์ม แต่สามารถนำมาใช้กับ digital พอได้
DA = เลนส์สำหรับกล้อง Digital เท่านั้น ใช้กับกล้องฟลิม์มไม่ได้
D FA = เลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้ได้ทั้งกล้องฟิล์มและกล้อง digital ได้ทั้งคู่
SDM = Supersonic = มีมอเตอร์ในตัวเลนส์จึงช่วยให้การโฟกัสของเลนส์เร็วและเงียบ
AL = Aspherical Lens = ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม เพิ่มเติม
* = ซีรี่ย์เลนส์ที่ผลิตจากแก้ว โดยผ่านการหลอม และโค้ดอย่างดีเยี่ยม
ตัวย่อของ Sony / Konica Minolta
AS = Anti-Shake = ระบบป้องกันภาพสั่น แต่ระบบนี่การทำงานมันจะอยู่ที่ตัว CCD ไม่ได้ใช้ชิ้นเลนส์
G = เป็นเลน์เกรดโปรของค่าย Sony Konika Minolta
SSM = Super Sonic Motor = เป็นมอเตอร์ที่อยู่ในตัวเลนส์ ช่วยให้โฟกัสเร็วและเงียบขึ้น


ตัวย่อของ Tokina

AS = Aspherical Elements
AT-X = Advanced Technology Extra
FC = Focus Clutch
SD = Super Low Dispersion Glass


ตัวย่อมาตรฐานที่พบได้หลายค่าย

IF = Internal Focus คือระบบโฟกัสของเลนส์เป็นแบบเคลื่อนชิ้นเลนส์ภายใน
RF = Rear Focus คือการปรับโฟกัสของเลนส์ด้วยการเคลื่อนที่ของชุดเลนส์ชิ้นหลัง
ED = ED glass (Extra-low Dispersion) นอกจาก Nikon แล้วก็มี Pentax และ Olympus ที่ใช้ ED เช่นกัน
ASP = Aspherical คือชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม เพิ่มเติมจะพบในการนำเสนอของ Sigma
และ Tamron
APO = Apochromatic คือเลนส์ที่แก้ความคลาดของสี ซึ่งจะพบ APO กับเลนส์ค่าย Sigma และ Sony
Konika Minolta
Macro = เลนส์ที่ออกแบบมาให้ถ่ายได้ใกล้วัตถุมากๆเพื่อให้ได้ภาพวัตถุเล็กๆปรากฎเป็นภาพใหญ่
และ ถูกออกแบบให้แสดงความคมชัด รายละเอียดของภาพมากกว่าเลนส์ปรกติ
Fisheye lens = เลนส์ตาปลา อันนี้ก็เป็นเลนส์มุมกว้าง ที่ไม่แก้ความโค้ง ปล่อยความโค้งเต็มที่ ส่วนใหญ่
ก็เอาไว้ถ่ายอะไรที่ต้องการความกว้าง โดยไม่สนความโค้ง หรือเอา effect มาสร้างความ
แปลกตา


เพิ่มเติมรายละเอียดเรื่องความคลาดของสีกับความคลาดทรงกลมครับ

ความคลาดของสี (chromatic aberration) คือ โดยปกติแล้วเมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์
ไปตกกระทบบนระนาบของฟิล์มหรือ CCD ก็จะประกอบไปด้วยแม่สีทั้ง 3 คือ แดง เขียว น้ำเงิน
ซึ่งในเลนส์ธรรมดาทั่วไปแม่สีทั้ง 3 แต่ละสีจะมีจุดโฟกัสบนระนาบไม่เท่ากัน
สีแดงยาวที่สุด ตามมาด้วยเขียวและฟ้า ทีนี้เมื่อแม่สีทั้งสามมีระยะโฟกัสที่ไม่เท่ากัน
เมื่อ ตกลงบนระนาบของฟิล์มและผสมกันออกมาเป็นสีจึงทำให้ขาดความคมชัด สีสันไม่ถูกต้องตามธรรมชาติตลอดจนความเปรียบต่างไม่ดี ยิ่งเลนส์ทางยาวโฟกัสยิ่งสูงยิ่งมีความคลาดสีสูง
วิธีแก้ คือ ใช้วัสดุพิเศษที่มีความคลาดสีน้อยมากๆ มาทำชิ้นเลนส์ คือพวก UD,ED,LD,APO


ความคลาดทรงกลม (spherical aberration) คือการที่ภาพไม่สมบูรณ์อันเกิดมาจากการหักเหของแสง ที่มากขึ้นตามส่วนโค้งบริเวณขอบของเลนส์

อันจะมีผลต่อความถูกต้องของสีและความคมชัดของภาพ ทั้งนี้เพราะชิ้นเลนส์ทั่วๆไปที่มีความโค้ง เว้า ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนโค้งของทรงกลมทั้งสิ้น (spherical) อาจจะเพราะทำง่ายและราคาถูก แต่ก็มีปัญหาคือเกิดความคลาดทรงกลม จากการหักเหของแสงที่มากขึ้นกว่าตรงกลางเลนส์ตามขอบเลนส์

วิธีแก้ คือ ทำให้เลนส์ไม่เป็นทรงกลม A-spherical โดยปัจจุบันเราจะเห็นเลนส์นูนเลนส์เว้าประกอบกันเป็นชุดๆ ในเลนส์หนึ่งๆ ก็อาจจะมี หลายชุดที่มักจะเรียกกันว่า compound ซึ่งก็คือแก้ความคลาดทรงกลมนี่เอง และเรียกชุดเลนส์พวกนี้ว่า Aspherical lens.

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Sigma 50/1.4 EX DG HSM Review

Lens Review: Sigma 50/1.4 EX DG HSM - Normal Alternative

Name:  Sigma_50mm_F1-4_pic.jpg  Views: 4286  Size:  45.5 KB



Specifications
Name:  Sigma_50mm_F1-4_const.jpg  Views: 3972  Size:  12.6 KB

โครงสร้างเลนส์
8 ชิ้น, 6 กลุ่ม (ชิ้นเลนส์ Aspherical 1 ชิ้น)

กลีบรูรับแสง
9 กลีบ แบบโค้ง

ระยะโฟกัสใกล้สุด
0.45 m

กำลังขยายสูงสุด - ที่ระยะโฟกัสใกล้สุด
0.135 (1:7.4)

วงรอบวงแหวนโฟกัส - จำนวนรอบของวงแหวนโฟกัสจากระยะใกล้สุดถึง Infinity
ประมาณ 1/4 รอย, ไม่หมุนตามเมื่อใช้ Auto Focus

เกลียวหน้าเลนส์
ขนาด 77mm, ไม่หมุนเวลาหาโฟกัส

ความยาวกระบอกเลนส์เมื่อเปลี่ยนระยะโฟกัส
ไม่ยื่น

วัสดุวงแหวนประกบ
โลหะ

ขนาดและน้ำหนัก
84x68 mm, 0.5 kg


หน้าเลนส์ใหญ่ถึง 77mm พร้อมฮูดแบบกลีบดอกไม้.. กระบอกเลนส์ออกแบบให้มีการเคลื่อนที่ของหน้าเลนส์ภายในกระบอก ทำให้ความยาวของกระบอกเลนส์ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเปลี่ยนระยะโฟกัส โครงสร้างแข็งแรง.. มอเตอร์ HSM วิ่งได้รวดเร็ว โฟกัสจับได้ค่อนข้างเร็ว ไม่วืดวาดแม้แสงจะน้อย


ความคมชัด และ การคลาดสี

MTF หรือ Modulation Transfer Function เป็นค่าที่สามารถบ่งบอกได้ถึงความสามารถหรือคุณสมบัติในการถ่ายทอดราย ละเอียดของภาพที่ได้ ซึ่งบ่งบอกถึงความคมชัดของภาพได้.. MTF (ที่ 50%) จึงนิยมใช้ในการแสดงถึงความคมชัดของเลนส์.. โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้แสดงความสามารถว่า เลนส์ ยิ่งค่า MTF สูงเท่าไหร่ก็หมายถึงเลนส์มีความคมเก็บรายละเอียด และมี contrast ดีมากขึ้นเท่านั้น..

Optimum MTF-50 score ที่ได้ เกิดจากการโฟกัสในหลายๆ ระนาบโฟกัส เพื่อชดเชยอาการ Field of Curvature หรือ ระนาบโฟกัสไม่แบนเรียบ โดยนำค่าเฉลี่ย MTF-50 ที่ดีที่สุดมาแสดงไว้

Lateral Chromatic Aberration (CA) หรือ อาการคลาดสีในแนวเส้นทะแยงมุมของระนาบของภาพ คือ อาการที่ขอบของจุดในภาพ มีการตัดขอบของสีไม่ตรงกัน..
จะแตกต่างจาก Longitudinal Chromatic Aberration (LoCA, Axial CA) หรืออาการคลาดสี ในแนวตั้งฉากกับระนาบของภาพ.. ซึ่งก็คือ อาการที่ขอบของจุดในภาพจะมีการไล่สีไม่ตรงกัน.. อันเนื่องมาจากจุดโฟกัสของแสงในแต่ละความยาวคลื่นอยู่ไม่ตรงกัน..


Name:  Sigma_50mm_F1-4_mtf.jpg  Views: 3980  Size:  122.6 KB
* สำหรับกล้อง DX format ขอบของภาพ สามารถดูได้จาก กราฟแท่งกลาง (Middle)

ความคมชัดโดยรวมถือว่าทำได้ในระดับที่ดี และใช้ได้อย่างดีในช่วงรูรับแสงตั้งแต่ F2.0 ขึ้นไป..
ความคมชัดที่ขอบภาพไม่ค่อยดีนัก แต่ก็จัดว่าใช้ได้ที่ F4.0 ขึ้นไป..
ระดับ CA จัดอยู่ในระดับกลางๆ ไม่มาก ไม่น้อย...
ที่น่าชมเชยคือ มี LoCA (Axial CA) เพียงเล็กน้อยจนแทบสังเกตุไม่เห็นตลอดทุกช่วงรูรับแสง หรือ แม้จะเปิดกว้างสุดก็ตาม..


Vignette - Light fall-off

Vignette หรือ ขอบภาพมืด ของ Sigma 50/1.4 HSM นั้น ถือว่าน้อยมาก เพราะหากใช้ f/2 ก็แทบจะไม่ค่อยเห็นขอบมืดเท่าไหร่
อาจจะเป็นข้อดีของเลนส์ที่มีหน้าเลนส์กว้างๆ แบบนี้..

Name:  Sigma_50mm_F1-4_vig.jpg  Views: 3974  Size:  76.3 KB


* สำหรับกล้อง DX format สามารถตรวจสอบอาการมืดของมุมภาพได้ที่ 60% ถึง 70%



Veiling Glare

Veiling Glare คือ แสงสะท้อนหรือแสงฟุ้งที่เกิดจากการสะท้อนไปมา ระหว่างชิ้นเลนส์ ภายในระบบเลนส์..
ซึ่งถ้ามีแสง glare นี้ มากๆ ก็ส่งผลถึงการเกิด flare รวมทั้ง ghost และส่งผลถึง contrast ของภาพที่ได้ และจะชัดเจนเมื่อมีการถ่ายย้อนแสง หรือใกล้ ดวงไฟหรือแหล่งกำเนิดแสง หากเลนส์ที่มี Veiling Glare น้อยๆ ก็อาจจะช่วยให้ภาพมีสีสันที่ดี สีอิ่ม รวมถึงมี contrast สูง

อย่างไรก็ตาม การที่จะระบุว่า เลนส์ตัวนี้มี flare เยอะ หรือ มี ghost รวมทั้ง contrast โดยทั่วไป ดีไม่ดีอย่างไร ไม่สามารถระบุได้โดยการวัดค่า Veiling Glare ที่ได้จากการทดสอบนี้เพียงลำพัง.. เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมาก.. แต่ Veiling Glare ที่นำเสนอนี้ก็สามารถใช้ทำนายคุณภาพของภาพได้ในหลายๆ กรณี..

* ในการทดสอบ Veiling Glare ซึ่งเกิดมาจากแสงที่ เข้ามากระทบหน้าเลนส์ จากหลายทิศทาง ทั้งที่อยู่ในเฟรมภาพและที่อยู่รอบๆ ตัว จึงจำเป็นต้องควบคุมแสงแวดล้อมที่ใช้ในการทดสอบ.. ในการทดสอบนี้จึงไม่สวมฮูด หากสวมฮูดก็จะช่วยลดอาการ Veiling Glare จากแสงรอบๆ ภาพบางส่วนได้..
อย่างไรก็ตาม รูปแบบการทดสอบนี้ อาจจะยังไม่สมบูรณ์ และ ยังไม่มีมาตราฐานมากพอ เนื่องจากการควบคุมสภาวะต่างๆ ทำได้ไม่มาก..


สำหรับเลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยว ซึ่งมักมีจำนวนชิ้นเลนส์ไม่มาก ทำให้การสะท้อนระหว่างชิ้นเลนส์มีน้อยตามจำนวนชิ้นเลนส์ อย่างเลนส์ Sigma 50/1.4 HSM ตัวนี้ มีค่า veiling glare เพียง 1.33% ซึ่งเลนส์ชิ้นโตขนาดนี้ ก็ถือว่าค่อนข้างต่ำแล้ว..

ภาพจำลองเปรียบเทียบ.. ระดับของ glare.. ระดับความมืดของกรอบสีดำยิ่งมืดแสดงให้เห็นว่ามีการลด glare ได้เป็นอย่างดี..

Name:  Sigma_50mm_F1-4_glare.jpg  Views: 3965  Size:  10.5 KB


Bokeh

Bokeh ของ Sigma 50/1.4 HSM ตัวนี้ดูกลมสวยงาม.. ขอบดวง Bokeh นิ่มนวล ไม่ขึ้นเส้นให้เห็นชัดเจนนัก..

Name:  Sigma_50mm_F1-4_bokeh.jpg  Views: 3966  Size:  177.4 KB



การถ่ายทอดสี
จากการทดสอบโดยควบคุมแสงและคงค่าสมดุลสีขาว (White Balance) กับสีต่างๆ บน ColorChecker Chart ได้ผลตาม แผนภูมินี้

Name:  Sigma_50mm_F1-4_color.jpg  Views: 3956  Size:  141.2 KB

แผนภูมิแสดงค่าสีในระบบ L*a*b* (L*=75) ของสีต่างๆ บน ColorChecker.. จำนวน 19 สี ที่ถ่ายออกมาได้..
วงกลมสีเทา หมายถึง การกระจายตัวของสีของเลนส์ตัวอื่นๆ ในฐานข้อมูล..
ส่วน วงกลมสีฟ้าจะแสดงค่าสีที่ได้จากเลนส์ Sigma 50/1.4 HSM..

จะเห็นว่า Sigma ตัวนี้ ให้สีออกมาธรรมชาติมาก.. ไม่อมสี..


บทความจาก http://www.lenklong.com


วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

เลนส์ Nikkor/Nikon





Nikon เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์ถ่ายภาพ โดยทุกขั้นตอนการผลิตเลนส์ภายในโรงงานของตนเองมาตลอด ตั้งแต่การหลอมเลนส์ คำนวนและออกแบบชิ้นเลนส์ ไปจนถึงการผลิต ดังนั้นคำกล่าวว่าเลนส์ของ Nikon บางรุ่นถูกผลิตโดยผู้ผลิตอื่นจึงไม่เป็นความจริง ในทางตรงกันข้าม กลับเป็น Nikon เองที่ผลิตเลนส์ให้แก่บริษัทอื่น ตั้งแต่ปี 1932 เลนส์จาก Nikon จะถูกใช้ชื่อว่า "Nikkor"

......

บทความเรื่องเลนส์ Nikkor/Nikon


Nikon เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์ถ่ายภาพ โดยทุกขั้นตอนการผลิตเลนส์ภายในโรงงานของตนเองมาตลอด ตั้งแต่การหลอมเลนส์ คำนวนและออกแบบชิ้นเลนส์ ไปจนถึงการผลิต ดังนั้นคำกล่าวว่าเลนส์ของ Nikon บางรุ่นถูกผลิตโดยผู้ผลิตอื่นจึงไม่เป็นความจริง ในทางตรงกันข้าม กลับเป็น Nikon เองที่ผลิตเลนส์ให้แก่บริษัทอื่น ตั้งแต่ปี 1932 เลนส์จาก Nikon จะถูกใช้ชื่อว่า "Nikkor"

Mount Nikkor
1. Invasive Fisheyes ผลิตในปี 1960s Mount จะยื่นเข้าไปในกล้อง
2. Pre-AI (NON-AI) หรือ NAI ผลิตในปี1959-1977 Prong หรือเขี้ยว(ที่คนไทยเรียกว่าหูกระต่าย) ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับเดือยที่อยู่ที่กล้องหรืออยู่ที่ปริซึมแล้วแต่รุ่น Nikon F อยู่ที่ปริซึม Nikkomatหรือ Nikkormatอยู่ที่บอดี้รอบเมาท์เลนส์ เพื่อเป็นการบอกให้กล้องรู้ว่าเลนส์ที่ใช้มีรูรับแสงกว้างสุดเท่าไหร่ และขณะที่ใช้งานปรับค่ารูรับแสงไปที่เอฟไหน เพราะ Nikon ใช้การวัดแสงแบบรูรับแสงกว้างสุดเปิดตลอดเวลานะครับ Non AI หูกระต่ายจะตันนะครับ ถ้าเป็นAIและAI-s หูจะเจาะรูแล้ว ซึ่งถ้าเจอหูตันแต่มีบากAI นั่นคือเลนส์ AI Mod ครับ


3. AI Converted ผลิตในปี 1959-Present เหมือนกับ AI จะแสดงรูรับแสง 2 แถว ตัวล็อกเลนส์จะคว่ำลง

- ดัดแปลงจากโรงงาน จะแสดงรูรับแสง 2 แถว แต่ตัวเลขแถวล่าง เป็นเลขที่ปั๊มลึกลงตัวเลนส์
- ดัดแปลงกันเอง จะแสดงรูรับแสง 2 แถว แต่ตัวเลขแถวล่าง เป็นแผ่นตัวเลขติด
4. AI, AI-S ผลิตในปี 1977-Present จะแสดงรูรับแสง 2 แถว ตัวล็อกเลนส์จะคว่ำลง

- รุ่น AI ตัวเลขรูรับแสงมากที่สุด (รูรับแสงแคบสุด,F22) ช่องรับแสงแคบสุดของเลนส์AI มีหลายสี
- ส่วนรุ่น AI-S ตัวเลขรูรับแสงมากที่สุด (รูรับแสงแคบสุด,F22) จะเป็นสีส้ม และที่ท้ายเลนส์จะมีร่องอยู่
ร่อง นี้มีไว้กับกล้องในยุคนั้นไม่กี่ตัวคือ FA FG F-301 F-501 F4 เพื่อบอกให้กล้องทราบว่า เลนส์ตัวนี้เป็นเลนส์ที่มีค่าแรงต้านของสปริงเท่ากันตั้งแต่เอฟกว้างสุดไปเอ ฟแคบสุด เพื่อที่จะสามารถใช้งานในระบบSและP ได้ครับ และเนื่องจากเลนส์AIบางตัวจะมีสีส้ที่รูรับแสงแคบสุดด้วย เพราะฉะนั้นวิธีที่ดูได้ดีกว่าคือดูที่ตัวเลขรูรับแสงตัวที่2(เอาไว้ใช้ดูใน ระบบADR Aperture Direct Readout ซึ่งมีในกล้องManual ของนิคอนครับ
- ยังมีรุ่นที่เป็น Series-E (AI-E) ผลิตในปี 1979s เพื่อลดต้นทุนการผลิต ให้ได้เลนส์ราคาถูกลง แต่ยังคงประสิทธิ์ภาพ ของเลนส์อยู่ โดยการเปลี่ยน Body จากโลหะเป็นพลาสติก ลดการ Coated เลนส์ ให้บางลง (ในบางรุ่น) แต่ทั้งหมดของ Series-E เป็น AI-S
5. AF, AF-D (Screw) ผลิตในปี 1986-Present เป็น Auto Focus จะมี Pin ด้านข้าง 5 Pin
- AI-P =
การ เอาเลนส์แมนนวลโฟกัสมาใส่ CPU ของเลนส์ เพื่อบอกค่ารูรับแสงให้กับกล้องNikon AF ทั้งหลาย ทำให้มันใช้งานได้ครบทั้งP S A M และระบบวัดแสงแบบMatrix เพราะกล้องAF นิคอนจะใช้การส่งผ่านข้อมูลจากเลนส์มากล้องด้วยชิพครับ ไม่ใช่ว่าใส่ไปแล้วกล้องมันหมุนโฟกัสเองได้นะครับ
- AF-n = new cosmetics เลนส์ AF ยุคแรกของ Nikon ที่ไม่ใช่เลนส์สำหรับNikon F3AF จะเห็นว่าเลนส์ใช้วงแหวนโฟกัสเป็นพลาสติก ทำลายเซาะร่องถี่ๆ กระบอกเลนส์เป็นพลาสติกเรียบๆ และใช้การลอครูรับแสงแคบสุดด้วยการหมุนแป้นกลมๆที่วงแหวนปรับรูรับแสง แต่เลนส์ AF(n) จะแก้ไขวงแหวนโฟกัสโดยใช้ยางหุ้มแหวนโฟกัสเป็นยางที่เกาะนิ้วกว่าเดิมมาก กระบอกเลนส์ในเลนส์เกรดดีๆจะเป็นลายพ่นทราย(หากสามารถหารูปเลนส์ Nikkor 180/2.8 ED และ 180/2.8ED(n) จะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนครับ) และการลอควงแหวนช่องรับแสงให้แคบสุดจะเป็นการเลื่อนสวิทช์ลงมา ไม่ได้กดแล้วหมุนอีกต่อไปครับ
- AF-D = Distance Information
6. AF-S, AF-I ผลิตในปี 1992-Present เป็น Auto Focus จะมี Pin ด้านข้าง 7-10 Pin
- AF-S = Silence Wave Motor ใช้ระบบไฟฟ้ามาควบคุม แต่การทำงานเงียบขึ้น
- AF-I = Internal Motor ใช้ระบบไฟฟ้ามาควบคุม
โดยสรุปจาก Mount ต่างๆ ของ Nikkor

สรุปจากภาพอีกครั้งระหว่าง NON-AI/AI/AIS



ถอดรหัสของเลนส์
เป็นรหัสชิ้นเลนส์ ซึ่งเป็นรหัสตัวอักษรโรมัน บอกถึงชิ้นเลนส์ อยู่ตรงหน้าเลนส์
U(UNI)=1, B(BI)=2, T(TRI)=3, Q(QUADRA)=4, P(PENTA)=5, H(HEXA)=6, S(SEPTA)=7, O(OCTA)=8, N(NANO)=9, D(DECA)=10
ยกตัวอย่าง Nikor-S 35mm F2.8 เลนส์ AI ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ 7 ชิ้น เป็นต้น

เทคโนโลยี ของเลนส์ Nikkor
1. CRC (Close Range Correction) เป็นการแก้เพื่อให้เลนส์มีความคมชัดสูงได้ตั้งแต่ระยะใกล้สุดไปถึงระยะอนันต์(infinity)
2. PC (Perspective Control) เป็น เลนส์ PC ปรับได้แต่ Shift คือเลื่อนขึ้นลงหรือซ้ายขวานะครับ ไม่สามารถกระดกเลนส์ชุดหน้าทำมุมกับระนาบฟิล์มได้แบบเลนส์ T-S ของแคนอนนะครับ เลนส์ Nikon ที่แก้แบบTSของนิคอนนั้นออกมาทีหลังมาก ใช้ชื่อว่า PC-E ครับ
3. Aspherical Elements เลนส์แก้ความผิดเพี้ยนของภาพ โดยเฉพาะตรงขอบ
4. NIC (Nikon Integrated Coating)/SIC (Nikon Super-integrated Coating)

5. ED (Extra-low Dispersion) Glass เป็น ชิ้นเลนส์ที่มีการกระเจิงของสเปคตรัมแสงต่ำ ทำให้สเปคตรัมแสงตกลงจุดเดียวกัน ช่วยลดอาการขอบภาพมีสีเหลื่อมม่วงหรือเหลื่อมเขียวครับ
6. IF (Internal Focusing) การใช้เทคโนโนยีในการปรับโฟกัส โดยใช้หมุนชุดชิ้นเลนส์ภายใน ทำให้การปรับโฟกัสได้เร็วขึ้น
7. RF (Rear Focusing) การปรับโฟกัสจากท้ายเลนส์ สังเกตุจากท้ายเลนส์จะยืด-หดเข้าไปได้

8. DC (Defocus Control or variable bokeh) เลนส์ DC มีไว้"เขยิบ" ช่วงของDOF จากเลนส์ปกติให้สามารถเลื่อนมาด้านหน้าหรือด้านหลังได้ เพื่อฉากหลังที่ดูเนียนตาขึ้นครับ โดยทั่วๆไปมันคมน้อยลงนิดๆซะด้วยซ้ำไปนะครับ
9. VR เป็นระบบป้องกันกันสั่น ผลิตในปี 2000-Present เป็น Auto Focus จะมี Pin ด้านข้าง 10 Pin
10. G (Gelded) ผลิตในปี 2003-Present ไม่มีที่ปรับรูรับแสงจากตัวเลนส์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่จะปรับได้จากตัวกล้อง
11. DX ใช้กับกล้องที่มีแฟรมขนาด (16x24mm) หรือกล้องตัวคูณ
12. Nano ผลิตในปี 2006-Present ระบบการ Coat เลนส์ระบบใหม่ เพื่อทำให้การ coat มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ลดการเกิด Flare, เพิ่ม contrast และการป้องกันชิ้นเลนส์


พัฒนาในเลนส์ไปใช้กับกล้อง Nikon DSLR
ปัจจุบัน มีคนเริ่มหันมาใช้เลนส์มือหมุนมาใช้ร่วมกับกล้อง DSLR ซึ่งสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อจำกัดว่า ในบางรุ่นก็ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิ์ภาพ โดยเฉพาะกับการเข้ากันกับกล้อง Nikon

โดยสรุปเป็นตารางการใช้งานระหว่างเลนส์และกล้องรุ่นต่างๆ ได้ดังนี้

แต่ สำหรับกล้องรุ่นอื่นก็สามารถใช้กับเลนส์ Nikkor ได้อย่างลงตัวเช่นเดียวกันโดยหา Adapter มาใส่เท่านั้นกันจะสามารถใช้งานได้อย่างลงตัว เช่น กล้อง Canon ใช้กับเลนส์ Nikkor เป็นต้น
บทความนี้คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ข้อมูลทั้งหมดนำมากจากข้อมูลด้านล่าง หรือ หาข้อมูลเพิ่มเติมจาก ข้อมูลนี้
http://www.kenrockwell.com/nikon/compatibility-lens.htm

http://www.kenrockwell.com/nikon/nikortek.htm#f

http://rick_oleson.tripod.com/index-153.html

http://www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?t=89981

สารพันเรื่องถ่ายภาพ-หนังสือ Nikon Compendium “ เรื่องน่ารู้ของเลนส์ Nikon” แปล/เรียบเรียง : ปกากร วนกุล

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Sony NEX 5

Sony NEX 5

Sony NEX 5
ข้อมูล Sony NEX 5 โดยสรุป

กล้องดิจิตอล ความละเอียด 14.2 LCD ขนาด 3 นิ้ว ถ่าย พาโนรามาในแบบ 3 มิติ AVCHD ความละเอียด HD 1080/60i สามารถเปลี่ยนเลนส์ตัวกล้องดิจิตอลได้
เปิดตัว ไม่มีข้อมูล

ราคาศูนย์ 24,990 บาท


ข้อมูลรายละเอียดของกล้อง Sony NEX 5
หน่วยประมวลผล
เซนเซอร์รับภาพ
CMOS 23.4 x 15.6 mm (3.65 cm)
ความละเอียดใช้งาน
14.2 ล้านพิกเซล
ความละเอียดเซนเซอร์
14.6 ล้านพิกเซล
โปรเซสเซอร์
Sony
เลนส์
ความยาวโฟกัส
มาพร้อมกับเลนส์ SEL18 - 55 หรือ SEL16F28 มม.
รูรับแสง
มาพร้อมกับเลนส์ SEL18 - 55 หรือ SEL16F28
ออพติคอลซูม
ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้
ดิจิตอลซูม
ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้
ชัตเตอร์
ความเร็วชัตเตอร์
30 - 1 / 4000 วินาที
ถ่ายภาพต่อเนื่อง
มี , 5 or 7 fps
การโฟกัส
ชนิดโฟกัส
Contrast Detection
มาโคร
ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้
ระบบเกี่ยวกับแสง
ระบบวัดแสง
Multi (49 segment), Center, Spot
ระบบชดเชยแสง
-2 to +2 EV in 1/3 EV steps
ความไวแสง (ISO)
Auto, 200, 400, 800, 1600, 3200, 6400, 12800
สมดุลแสงสีขาว (WB)
6 ตำแหน่งพร้อมปรับด้วยมือ และ Kelvin
ช่องมองภาพและ LCD
ช่องมองภาพ

ขนาดจอ LCD
3 นิ้ว
ความละเอียดจอ
920,000 จุด
การปรับตำแหน่งจอ
ได้
แฟลช
ระบบแฟลช
Auto, On, Off, Red-Eye, Slow Sync, Rear Curtain, Fill-in
ระยะแฟลช
12 m
แฟลชภายนอก

ภาพเคลื่อนไหว
ภาพเคลื่อนไหว
AVCHD ความละเอียด HD 1080/60i
ระยะเวลาบันทึกภาพเคลื่อนไหว
ไม่มีข้อมูล
หน่วยความจำ
หน่วยความจำภายใน

หน่วยความจำที่ใช้
SD/ SDHC/SDXC, Memory Stick Pro Duo/ Pro-HG Duo
ไฟล์และการเชื่อมต่อ
ไฟล์ภาพนิ่ง
มี , RAW
ไฟล์ภาพเคลื่อนไหว
มี , 1280 x 720 (HD), 640 x 480
เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
USB 2.0 (480Mbit/sec)
เชื่อมต่อทีวี
AV
อื่นๆ
ชนิดแบตเตอรี่
Lithium-Ion NP-FW50
กว้าง สูง ลึก
117 x 62 x 33 มม.
น้ำหนักตัวกล้อง
297 กรัม
เมนูภาษาไทย
มี
อื่นๆ
AVCHD ความละเอียด HD 1080/60i , พาโนรามาในแบบ 3 มิติ

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10 เทคนิคการถ่ายภาพภูเขา

ไปอ่านเจอบทความน่าสนใจ กับเทคนิคการถ่ายภาพภูเขา คิดว่าคงมีประโยชน์ โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบการถ่ายภาพวิวนะครับ.....

เทคนิคการถ่ายภาพภูเขา
1. วางแผนและค้นคว้า
ก่อนออกเดินทาง ช่างภาพควรใช้เวลาสักนิดในการค้นคว้าหาข้อมูล ทำความรู้จักกับที่ๆ จะไปให้ดีเสียก่อน เพื่อเป็นการวาง แผนการเดินทางให้คุ้มค่าและใช้เวลาได้อย่างเกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น พระอาทิตย์ขึ้นและตกในตำแหน่งใด ช่างภาพจะได้อยู่ถูกที่ถูกเวลาและรู้ทิศ ทางของแสง ว่าช่วงเช้า ช่วงบ่าย และช่วงเย็นจะไปถ่ายภาพในตำแหน่งใด ก่อนหรือหลัง ถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นหรือตกยังจุดใด ซึ่งจะทำให้ช่างภาพสามารถวางแผนใช้ช่วงเวลาของแสงได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้ง วัน รวมทั้งฤดูกาลที่เหมาะสมเช่น ฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูหนาว

2. ใช้ผลจากการถ่ายภาพระยะไกลด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์หรือภูเขาไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์มุมกว้างเสมอไป เลนส์เทเลโฟโต้ก็สามารถนำมาถ่ายภาพวิวได้เช่นกัน แถมยังให้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไป ช่างภาพอาจใช้เลนส์เทเลโฟโต้ในการถ่ายภาพเพื่อเน้นเฉพาะส่วนที่น่าสนใจซึ่ง จะส่งผลต่อความรู้สึกและมีพลังในภาพมากยิ่งขึ้น การใช้รูรับแสงถ้าต้องการให้วัตถุภายในภาพชัดเจนทุกส่วนก็ควรใช้รูรับแสงแคบ เช่น F22 หรือ F32 แต่ปัญหาที่ตามมาคือความเร็วชัตเตอร์ต่ำต้องใช้ขาตั้งกล้องที่มั่นคงแข็งแรง และใช้ร่วมกับสายลั่นชัตเตอร์ทุกครั้ง หากไม่มีก็ใช้ระบบตั้งเวลาถ่ายภาพอัตโนมัติก็ได้

3. มองหาการสะท้อน ช่างถ่ายภาพภูเขามืออาชีพมักขวนขวายและเสาะหาบางสิ่งบางอย่างที่เหนือกว่า และน่าสนใจเพิ่มเติมลงในภาพ เพื่อให้ได้ผลงานที่แตกต่างไปจากภาพผลงานแบบเก่าๆ ภูเขาลูกเดียวกันแต่อาจเปลี่ยนมุมมองด้วยการส่งภูเขาลงสู่ทะเลสาบหรือหนอง น้ำที่กว้างใหญ่ ทำให้เกิดเป็นภาพสะท้อนขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ภาพถ่ายมีความน่าสนใจและเพิ่มเรื่องราวให้กับภาพได้เป็นอย่าง ดี

4. สร้างภาพให้มีมิติ ช่างภาพควรมองหาส่วนประกอบสำคัญที่สามารถเติมเต็มพื้นที่ในภาพนอกเหนือจาก ตัวภูเขาอันจะส่งผลทำให้เกิดความ ต้องตาต้องใจมากยิ่งขึ้น เช่น การหาวัตถุที่น่าสนใจรวมเข้าเป็นฉากหน้า อาจจะเป็นเงาดำของต้นไม้ใหญ่ ทุ่งดอกไม้ น้ำตก หรือแม้แต่บรรยากาศในตัวมันเองเป็นต้น ทำให้เกิดมิติที่แตกต่างกันในส่วนที่อยู่ใกล้และฉากหลังที่อยู่ไกลออกไป ภาพในลักษณะนี้ภูเขาอาจเป็นส่วนสำคัญรองลงไปกว่าฉากหน้าก็ได้ เพราะอย่างไรเสียภูเขาก็ยังคงเป็นบรรยากาศที่น่าสนใจในภาพอยู่ดี


5. มองจากมุมที่สูงกว่า เป็นเรื่องง่ายและเบสิคมาก สำหรับการถ่ายภาพภูเขาจากระดับพื้นดิน สิ่งที่จะทำให้ภาพเร้าอารมณ์มากขึ้นคือ การขึ้นไต่ขึ้นไปสู่ที่สูงแล้วบันทึกโลกจากมุมมองที่เหนือกว่า นำเสนออีกทิศทางหนึ่งของภูเขาที่แตกต่างออกไป ช่างภาพต้องใช้ความพยายามมากสักหน่อยกว่าจะได้มุมมองดังกล่าว อาจต้องเดินทางขึ้นเขากันเป็นวันๆ แต่รับรองว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่จะได้กลับมาอย่างแน่นอน ทั้งภาพถ่ายและความรู้สึก ช่างภาพอาจเพิ่มเรื่องราวในขณะเดินทางไต่เขาก็จะยิ่งเติมเต็มเนื้อหาให้กับ ภาพถ่ายภูเขามากยิ่งขึ้น

6. วางตำแหน่งโพลาไรซ์ให้ถูกทิศถูกทาง ช่างภาพส่วนใหญ่มักจะใช้ฟิลเตอร์ โพลาไรซ์เพื่อขับสีสันของท้องฟ้าให้เข้มข้นขึ้นในการถ่ายภาพวิว แต่การจะได้ภาพเป็นที่น่าสนใจไม่ได้จบแค่การใส่ฟิลเตอร์โพลาไรซ์แล้วถ่ายภาพ วิวเท่านั้น ช่างภาพต้องเรียนรู้มุมสะท้อนของแสงอาทิตย์อันจะส่งผลให้ใช้ประโยชน์จากมุม โพลาไรซ์ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และยังสามารถวางตำแหน่งของภูเขาในภาพได้อย่างถูกต้อง โดยมุมที่ตั้งฉากกับดวงอาทิตย์จะเกิดผลในการใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้มากที่สุด การใช้งานให้ปรับมุมฟิลเตอร์พร้อมกับสังเกตความเปลี่ยนแปลงจากช่องมองภาพโดย เลือกเอาตำแหน่งการปรับฟิลเตอร์ที่เห็นว่าได้ภาพดีที่สุด

7. หมอกและแสงหลัง สิ่งอันเป็นความปรารถณาของผู้รักการถ่ายภาพหุบเขาทั้งหลายคงหนีไม่พ้นทะเล หมอก ที่ช่างภาพ ต้องขนอุปกรณ์เป็นระยะทางไกลขึ้นสู่ไหล่เขาสูงจนได้ระดับ แต่นั่นก็คุ้มค่าเพราะช่างภาพสามารถใช้ความลี้ลับของทะเล หมอกทำให้ภูเขามีความลึกลับน่าค้นหาได้เป็นอย่างดี ยิ่งยามใดที่ปรากฏทะเลหมอกขึ้นยังบริเวณหุบเขาและมีแสงส่องเข้ามาทางหลัง จะส่งผลให้ภาพหุบเขาเกิดเป็นเงาดำทึบตัดกับผืนหมอกที่กำลังสะท้อนแสงแลดูสวย งามจับใจ

8. รวมคนเข้าไปในภาพ การแสดงสัดส่วนและขนาดเป็นสิ่งสำคัญในภาพถ่ายแทบทุกประเภท ในการถ่ายภาพภูเขาบางครั้งอาจใช้ต้นไม้ หรือก้อนหินเป็นส่วนประกอบ แต่ในบางโอกาสช่างภาพก็ไม่สามารถที่จะหาบางสิ่งบางอย่างมาใช้ทดแทนเพื่อบอก ขนาดอันใหญ่โตของภูเขาและทิวทัศน์ที่กว้างไกลได้เลย การรวมคนเข้าไปในภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญในยามที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเช่น นี้ แถมยังเพิ่มความน่าสนให้กับภาพรวมทั้งบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางได้อีกด้วย

9. มองหาและเข้าใกล้ เพื่อที่จะช่วยสร้างความรู้สึกชัดลึกให้เกิดขึ้นในภาพวิวทิวทัศน์ ช่างภาพควรมองหาวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้วางเคียงคู่ประกอบกับภูเขาเข้าในภาพ อาจเป็นดอกไม้ น้ำตก หรือก้อนหินในบริเวณนั้นก็ได้ เพื่อที่จะเพิ่มจุดสนใจและสร้างความแตกต่างของสัดส่วนให้เกิดขึ้นกับภูเขา ช่วยเน้นให้เห็นระยะทาง และเป็นการเร้าอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดขึ้นต่อภาพภูเขาได้ดีอีกลักษณะหนึ่ง เช่นกัน แต่ต้องระมัด ระวังเรื่องระยะชัดลึกของภาพให้ดี หากมีสิ่งที่อยู่ใกล้กล้องมากๆ ต้องใช้รูรับแสงแคบเพื่อให้ได้ภาพที่มีระยะชัดลึกสม่ำเสมอทั่วทั้งภาพ

10. ตื่นแต่เช้าตรู่ แสงในช่วงบ่ายต้องถือเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ส่องแสงดั่งต้องมนต์มายา เพราะเป็นช่วงที่ให้แสงอบอุ่น ซึ่งช่างภาพนำมาใช้ประโยชน์ในการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีแสงอีกช่วงหนึ่งที่ทรงคุณค่าไม่แพ้กันนั่นก็คือแสงพระอาทิตย์ในช่วง เช้าตรู่ ด้วยสีฟ้าบริเวณชั้นบรรยากาศอันห่างไกล และแสงสีชมพูบนท้องฟ้า เมื่อสองสีรวมเข้าด้วยกันประกอบกับภูเขาเบื้องล่าง ทำให้ภาพที่ออกมากลายเป็นภาพภูเขาที่งดงาม ให้ความรู้สึกบางเบาและสงบเงียบ ช่างภาพภูเขาจึงควรใช้ช่วงเวลานี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ปล่อยให้สูญเปล่ากับการพักผ่อนหลับนอน


ขอบคุณบทความดีๆจาก http://jphotostyle.com

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

IS [Image Stabilizer ]

เทคโนโลยี Image Stabilizer ในกล้องถ่ายภาพ
..................

ปัญหาที่ทำให้ภาพเสียหรือถ่ายภาพแล้วไม่ ได้ภาพที่ต้องการนั้นมีอยู่ 4 กรณีใหญ่ๆ คือ การโฟกัสไม่ชัด การใส่ฟิล์มไม่เข้า การเปิดรับแสงไม่ถูกต้อง และกล้องสั่น ปัญหาสามประการแรกสามารถแก้ไขได้ด้วยระบบอัตโนมัติหลายประการที่ใส่เข้าไปใน กล้องรุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการโหลดฟิล์มอัตโนมัติ การโฟกัสอัตโนมัติ และการวัดแสงอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้ได้ภาพที่ดี ลดอัตราการสูญเสียภาพไปได้มาก

อย่างไรก็ดีปัญหาเรื่องกล้องสั่นซึ่งผู้ผลิตกล้องได้แก้ไขด้วยการใส่แฟลชไป ในกล้อง และให้เปิดทำงานอัตโนมัติเมื่อมีแสงน้อยเพื่อให้สามารถถ่ายภาพ ที่ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น แม้ว่าระบบดังกล่าวจะลดปัญหากล้องสั่นไปได้ในการถ่ายภาพทั่วๆ ไป แต่ในกรณีการถ่ายภาพกีฬาหรือถ่ายภาพสัตว์ป่า ที่ต้องใช้เลนส์ความยาวโฟกัสมากๆ กำลังของแสงแฟลชไม่พอ และมีบ่อยครั้งที่ช่างภาพต้องการถ่ายภาพด้วยแสงในธรรมชาติ ไม่ต้องการแสงแฟลช ดังนั้นเมื่อสภาพแสงไม่อำนวย การใช้ขาตั้งกล้องจึงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่ช่างภาพก็จะสูญเสียความ คล่องตัวในการถ่ายภาพไป เมื่อช่างภาพต้องการใช้มือถือแทนที่จะติดกล้องไว้กับขาตั้งกล้อง ทางผู้ผลิตกล้องได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาภาพเบลอเพราะการถ่ายภาพ เนื่องมาจากการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่า 1/ความยาวโฟกัส โดยในปี 1995 แคนนอนได้ผลิตเลนส์ที่ใช้ระบบชดเชยการสั่นขณะถ่ายภาพเป็นตัวแรก ซึ่งก็คือเลนส์ 75-300 F/4.5-5.6 IS USM โดยเรียกระบบป้องกันภาพไหวนี้ว่า image stabilizer (IS)

*********


ภาพที่ 1 ก) เลนส์ทั่วไปที่ไม่มีระบบ IS เมื่อกล้องสั่น ลำแสงจากจุดๆ หนึ่งจะตกลงบนฟิล์มที่ตำแหน่งต่างกัน มีผลทำให้ภาพเบลอ ข) เลนส์ที่มีระบบ IS เมื่อกล้องสั่นในขณะถ่ายภาพ เซนเซอร์จะจับทิศทางการสั่นและส่งสัญญาณให้คอมพิวเตอร์ซึ่งจะควบคุมให้ชิ้น แก้วบางชิ้นขยับ ในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของชุดเลนส์ เพื่อทำให้แสงจากจุดๆ เดียวนั้น ตกกระทบบนฟิล์ม ณ ตำแหน่งเดียวกันตลอดเวลา

ต่อมาแคนนอนก็ได้ใช้ระบบนี้กับ เลนส์ถ่ายไกลที่ระยะอื่นๆ ของตนเอง ซึ่งได้แก่ EF 300mm f/2.8L IS USM, EF 400mm f/2.8L IS USM, EF 500mm f/4L IS USM, และ EF 600mm f/4L IS USM นอกจากเลนส์ของกล้องถ่ายภาพขนาด 35 มม. แล้ว แคนนอนยังนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับกล้องวีดีโอและกล้องสองตาด้วย


ภาพที่ 2 ตัวอย่งเลนส์ของแคนนอนที่มีระบบ IS

บริษัทนิคอนได้ผลิตเลนส์ด้วย เทคโนโลยีเดียวกัน ในปี 2002 โดยนำมาใช้กับเลนส์ 80 - 400 VR ซึ่งคำว่าวีอาร์ (VR) นี้เป็นคำย่อของ vibration reduction และมีเลนส์ที่ใช้ระบบกันการสั่นอีกหลายตัวตามมาเช่น 70-200 f/2.8 AF-S VR lens ในปี 2003


ภาพที่ 3 ตัวอย่างเลนส์ของนิคอนที่มี ระบบ VR